กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเฝ้าระวังโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แก่ครู เด็กนักเรียน ผู้ปกครองเด็ก
รหัสโครงการ 67-L1481-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลท่าพญา
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 6,203.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางบุญพา พิชัยรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นางบุญพา พิชัยรัตน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.354,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจาย และติดต่อระหว่างกันได้ง่ายเมื่อเด็กเจ็บป่วย เด็กเล็กเป็นช่วงอายุที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของร่างกาย จิตใจ และสมอง นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ส่งผลให้เด็กเจ็บป่วยได้ง่ายและพบได้บ่อยโดยเฉพาะโรคหวัด อุจจาระร่วง มือ เท้า ปาก คางทูม อีสุกอีใส หัด และไข้เลือดออกซึ่งเป็นโรคที่มีตัวพาหะนำโรค ซึ่งการเจ็บป่วยในวัยนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มเจ็บป่วยอาจทำให้การเจ็บป่วยมีอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงเสียชีวิตได้
ดังนั้น การป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการที่จะช่วยลดและแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อที่พบได้บ่อยของเด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก มีความรู้เรื่องโรคติดต่อ รู้จักวิธีการดูแลรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดลุกลาม

 

2 เพื่อให้ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ ความเข้าใจในการคัดกรอง อาการป่วยเบื้องต้น

 

3 เพื่อให้ผู้ปกครอง ผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการป้องกัน การแก้ปัญหาโรคติดต่อ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา 3.3 ขั้นตอนการดำเนินงาน - อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการเฝ้าระวังโรคติดต่อให้กับเด็กและผู้ปกครอง โดยวิทยากร กำหนดเนื้อหา
1) โรคติดต่อในเด็ก      จำนวน 1  ชั่วโมง
2) การทำสบู่เหลวล้างมือ  จำนวน  2  ชั่วโมง 3.4 ประเมินผลการดำเนินงาน 3.5 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้เรื่องโรคติดต่อ รู้จักวิธีการดูแลรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดลุกลามได้
  2. ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ ความเข้าใจในการคัดกรอง อาการป่วยเบื้องต้นสามารถดูแลให้บุตร-หลานได้อย่างถูกวิธี
  3. ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตระหนักถึงความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการป้องกัน การแก้ปัญหาโรคติดต่อ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2567 09:28 น.