กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก,โรคชิคุณกุนยาและโรคไข้ซิก้าในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านหนองคล้า ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L1516-01-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 40,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลักขณา หนูเริก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก,โรคชิคุนกุนยาและโรคไข้ซิก้านับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2565 -2566) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.2567 จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 ราย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้ม พบจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000 – 4,000 รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จนสูงที่สุดประมาณ 10,000 – 16,000 รายต่อเดือนในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน - กันยายน) ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาวิเศษเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา

    ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก,โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้ซิก้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า ตำบลเขาวิเศษ จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก,โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้ซิก้าในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านหนองคล้า ปีงบประมาณ 2567” ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

 

3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1. กิจกรรมประชาสัมพันธ์/สื่อสารความเสี่ยง

1.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ควบคุมโรคไข้เลือดออกผ่านช่องทางสื่อต่างๆครอบคลุมพื้นที่เขตรับผิดชอบในโรงเรียน วัด สถานที่ราชการ หมู่บ้าน

2.ให้ความรู้หน้าเสาธงในช่วงฤดูกาลระบาด

3.ให้ความรู้พร้อมกันสื่อสารความเสี่ยงผ่านแกนนำ อสม.ที่ประชุมหมู่บ้าน และเวทีการประชุมต่างๆในพื้นที่

4.การประชุมประชาคมภายในหมู่บ้านเมื่อเกิดกรณีการระบาดของโรค

5.ประชุม War room)

  กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

1.กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข

2.รณรงค์ขับเคลื่อนโดยชมรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เดือนละ 1 ครั้ง บูรณาการกับการเยี่ยมบ้าน อสม. ผู้นำชุมชน และขยายผลสู่ประชาชน

3.การประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลายภายในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ

4.สุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ๆ มีผู้ป่วยต่อเนื่อง (มีผู้ป่วยสงสัยมากกว่า 2 รายภายใน 28 วัน)

5.การไขว้ประเมินเพื่อสุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายระหว่างหมู่บ้าน

  กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทำลายลูกน้ำและยุงตัวแก่

1.การติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายทุกเดือน โดย อสม.ในพื้นที่

2.การออกดำเนินการ สอบสวนและควบคุมโรคเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อภายในพื้นที่ โดยทีม SRRT

3.กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกกรณีมีผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยดำเนินการสอบสวน และควบคุมโรคติดต่อที่เฝ้าระวังในชุมชนภายใน 24 ชั่วโมง และลงพื้นที่พ่นหมอกควันรอบบ้านผู้ป่วยรัศมีอย่างน้อย 100 เมตร เป็นจำนวน 2 ครั้งโดยมีระยะห่างกัน 7 วัน และแจกทรายอะเบท และการพ่นหมอกควันในสถานที่ราชการ โรงเรียน วัด ในช่วงก่อนและหลังฤดูกาลระบาด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง
  2. ประชาชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและบ้านเรือน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  3. ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2567 09:48 น.