กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำและอาหารปลอดภัยในชุมชนตำบลสะกอม ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 2567-L5186-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม
วันที่อนุมัติ 9 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 17,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยอดชาย สมจิตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 17,940.00
รวมงบประมาณ 17,940.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน รวมถึงเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยต่อไป จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังการขายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพบริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย

ร้านขายของชำ ปลอดจากการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่สามารถจำหน่ายในร้านชำได้

50.00 80.00
2 เพื่อให้แกนนำอสม.และผู้ประกอบการร้านชำในพื้นที่มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน จำหน่ายสินค้าที่มีความปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย

แกนนำอสม และผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอย มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย หลังเข้าร่วมโครงการ

40.00 80.00
3 เพื่อให้มีร้านชำคุณภาพ RDU ต้นแบบในตำบล

มีร้านชำคุณภาพ RDU ต้นแบบในตำบล9 ร้าน (หมู่บ้านละ 1 ร้าน ทั้งหมด 9 หมู่บ้าน)

20.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,940.00 0 0.00
1 - 15 พ.ค. 67 ประชุมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงาน 0 900.00 -
16 - 31 พ.ค. 67 แกนนำ อสม.ลงพื้นที่สำรวจร้านชำ 0 650.00 -
3 - 14 มิ.ย. 67 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านชำ และแกนนำอสม.ในพื้นที่ 0 11,090.00 -
1 - 12 ก.ค. 67 ประชุมคัดเลือกร้านร้านชำคุณภาพ(RDU) ต้นแบบในตำบลสะกอม 0 5,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำอสม และผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้เกี่ยวกับยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ
  2. ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอย สามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับ ผู้บริโภค
  3. มีร้านชำคุณภาพ RDU ต้นแบบในพื้นที่ตำบลสะกอมเกรายว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2567 14:54 น.