กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคมาลาเรียในตำบลอัยเยอร์เวง
รหัสโครงการ 67-L4131-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.อัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 64,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุนิสา ยี่สุ่นทรง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวบุสริน ดือเระ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมความคุมโรค ได้พัฒนาแผนยุทธศาสตร์กำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2569  มีวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยปลอดจากโรคไข้มาลาเรียภายในปี พ.ศ. 2567 โดยมี 4 ยุทธศาสตร์สำคัญคือ 1) เร่งรัดกำจัดการแพร่เชื้อมาลาเรียในประเทศไทย 2) พัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม มาตรการและรูปแบบที่เหมาะสม ในการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย 3) สร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ เพื่อขับเคลื่อนงานกำจัดโรคไข้มาลาเรีย 4) ส่งเสริมให้ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลตนเองจากโรคไข้มาลาเรีย อำเภอเบตง มีสภาพเป็นป่าเขา อากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี จึงเหมาะต่อการระบาดของโรคไข้มาลาเรีย โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง เป็นแหล่งรังโรคของไข้มาลาเรีย มีการระบาดซ้ำซากเป็นประจำทุก จากสถิติที่ผ่านมา พบว่า ปี 2562 - 2566 มีประชากรป่วยเป็นไข้มาลาเรีย 8, 5, 1, 1 และ 1 ราย ส่วนในปี พ.ศ.2567 นี้คาดว่าจะมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้น หากไม่มีการรณรงค์ป้องกัน และทำงานในเชิงรุกที่ดี
      การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคมาลาเรียให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพ นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคมาลาเรีย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคมาลาเรียในตำบลอัยเยอร์เวง” ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค ลดอัตราป่วยและอัตราตายของคนในตำบลอัยเยอร์เวง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่

อัตราป่วยไข้มาลาเรียไม่เกิน 300 ต่อแสนประชากร

2 เพื่อพ่นสารเคมีตกค้างกำจัดยุงก้นปล่องในเขตพื้นที่เสี่ยงระบาดซ้ำซ้อน

พื้นที่เสี่ยงระบาดซ้ำซ้อนได้รับการพ่นสารเคมีตกค้างกำจัดยุงก้นปล่อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 64,000.00 0 0.00
24 มิ.ย. 67 กิจกรรมการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียในเขตพื้นที่ 0 64,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) อัตราป่วยด้วยไข้มาลาเรียลดลงเหลือไม่เกิน 300 ต่อแสนประชากร 2) ประชาชนเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคมาลาเรีย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2567 11:36 น.