กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยาวชนคนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด โรงเรียนวัดเทพชุมนุม
รหัสโครงการ 67-L5278-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดเทพชุมนุม
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 66,560.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัฐภรณ์ สุทธินวล ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเทพชุมนุม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนวัดเทพชุมนุม
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 66,560.00
รวมงบประมาณ 66,560.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชน (อายุ 10-15 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
25.00
2 ร้อยละของเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น
30.00
3 ร้อยละของเยาวชน (อายุต่ำกว่า 20 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการตั้งครรภ์ซ้ำ
18.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์และปัญหาของเด็กและเยาวชนไทยขณะนี้กำลังเผชิญกับความเสี่ยงมากมาย อันเกิดจากสังคมสิ่งแวดล้อม
และวัฒนธรรมอันตรายที่ล้อมรอบตัวเด็ก เด็กและเยาวชนจำนวนมากได้รับผลกระทบจากปัญหาและสภาพแวดล้อมที่ไม่สร้างสรรค์ในสังคม ทำให้มีพฤติกรรมแตกต่างไปจากเด็กและเยาวชนในอดีต ซึมซับพฤติกรรมความรุนแรง สื่อลามกอนาจาร เสพยาเสพติด มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร อยู่ในแหล่งมั่วสุม และอื่นๆ จนพฤติกรรมเหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตร่วมสมัยของเด็ก และเยาวชนที่เติบโตขึ้นทุกวัน แม้ว่าผู้ปกครอง ครู อาจารย์ และคนทำงานด้านเด็กจะใช้ความรักความปรารถนาดีอย่างมากมายเพียงใดก็ตามก็ไม่อาจพิทักษ์ปกป้อง และคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ปลอดภัย หรือมีพฤติกรรมตามที่สังคมคาดหวังได้ จากการประมวลสถิติข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนของหน่วยงานต่าง ๆ พบว่าเด็กและเยาวชนทั้งที่เป็นนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอื่น ๆ ส่วนหนึ่ง มักมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และพบว่าปัญหาสำคัญที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนมี 9 ปัญหา ได้แก่
1)ปัญหาด้านยาเสพติด พบว่า เด็กและเยาวชนมีการเสพยาบ้า สารระเหย กัญชา และ 4 x 100
2)ปัญหาทางเพศการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรพบว่ามีการค้าประเวณีเกิดปัญหาท้อง ไม่มีพ่อ
3)ปัญหาด้านการศึกษา พบว่า เด็กและเยาวชนขาดเรียน ออกกลางคัน หนีเรียน ไม่เรียนต่อ ในระดับสูง
ยากจน ไม่มีทุนศึกษาต่อ เรียนจบแล้วไม่มีงานทำ 4)ปัญหาด้านพฤติกรรม ได้แก่ ความฟุ้งเฟ้อ การแต่งกาย ติดเกม ขาดวินัย ความรับผิดชอบ ไม่รู้จักหน้าที่ ของตนเอง ขาดความร่วมมือกับชุมชน ไม่มีพลังเยาวชน และขาดจิตสำนึก
5)ปัญหาคุณธรรม จริยธรรม พบว่า เด็กและเยาวชนมีนิสัย กิริยามารยาทก้าวร้าว ขาดความ เคารพเชื่อฟัง
ไม่ปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
6)ปัญหาการใช้เวลาว่าง เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างในการเล่นเกม ติดเพื่อน มั่วสุม เล่นการ พนัน ดื่มสุรา
ติดบุหรี่ และอื่นๆ
7)ปัญหาการก่ออาชญากรรม มีการทะเลาะเบาะแว้ง ยกพวกตีกัน ลักขโมย ปล้นจนถึงขั้น การข่มขืน
8)ปัญหาครอบครัว พบว่าครอบครัวไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน ครอบครัวเปราะบางแตกแยก ขาดความอบอุ่น
9)ปัญหาการค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก การค้าประเวณี และอื่นๆ โรงเรียนวัดเทพชุมนุม ตั้งอยู่ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาจากสภาพสังคมปัจจุบันของตำบลบ้านพรุ ซึ่งเป็นแหล่งการทำงานมีโรงงานอุตสาหกรรม เป็นปัจจัยสำคัญให้ประชาชนย้ายเข้าย้ายออกเข้ามาประกอบอาชีพ สลับกันมากมายปัญหาสังคมต่างๆย่อมมากขึ้นโดยเฉพาะปัญหายาเสพติด ไม่ว่าจะในกลุ่มของผู้ใช้แรงงานหรือกลุ่มของเด็กและเยาวชนส่วนหนึ่ง มีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบายทั้งปัญหาทางด้านการดำรงชีวิตของครอบครัว การแสวงหาเงินจากการทำงานเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัวจนทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ลูกหลาน ส่งผลให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับเพื่อนรวมกลุ่มกันเที่ยวเตร่จนกระทั่งมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ชักชวนหรืออิทธิพลจากกลุ่มยาเสพติดและจำหน่ายยาเสพติดที่ควบคุมอยู่ไปทั่วเป็นแหล่งอบายมุขเนื่องจากมีสถานบันเทิงที่สามารถทำให้ประชาชนและเยาวชนเข้าไปใช้บริการได้ง่ายส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย เกิดเป็นปัญหาครอบครัว ผู้ปกครองอย่าร้าง ทำให้บุตรหลานในวัยเรียนขาดที่พึ่งขาดความรักความอบอุ่น ทำให้สามารถลุ่มหลงหรือมัวเมาไปในอบายมุขได้ง่าย และมาตรการสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดสิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ บทบาทของสถาบันทางสังคมไทยในระดับรากหญ้าประกอบด้วย สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันโรงเรียน และสถาบันศาสนา เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติและแก้ไขปัญหายาเสพติดมิใช่หน้าที่ขององค์กรใดองค์กรหนึ่งแต่หากเป็นหน้าที่ของทุกคน ทุกองค์กรแห่งชาติร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาโดยมีเป้าหมายร่วมกันคือการขจัดยาเสพติดให้หมดไป จากการเยี่ยมบ้านนักเรียนพบว่าผู้ปกครองโดยส่วนใหญ่ทำงานรับจ้าง พนักงานโรงงานผลิตยาง ทำงานรายวัน นักเรียนอาศัยอยู่กับปู่ย่าตายายโดยผู้ปกครองไปทำงานนอกบ้านและในต่างจังหวัดด้วย และที่ผู้ปกครองบางส่วนก็แยกทางเนื่องจากมีลูกตอนอายุน้อยหรือมีปัญหาทางเศรษฐกิจส่งผลให้นักเรียนมีปัญหาทางการเรียนและครอบครัวโดยเฉพาะนักเรียนที่เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบปัญหา เช่น การทะเลาะวิวาท ทะเลาะวิวาทผ่านทางสื่อออนไลน์ ปัญหาชู้สาว ปัญหาติดเกม ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้นักเรียนหันไปพึ่งพายาเสพติดและเกิดเป็นปัญหาสังคมตามมาจะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมโดยรอบสถานศึกษาและเขตท้องที่รวมในตำบลบ้านพรุอำเภอหาดใหญ่เป็นพื้นที่สุ่มเสี่ยงจากสถานการณ์การปัญหายาเสพติดที่ค่อนข้างรุนแรงส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนโดยที่ผ่านมามีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นในหลายประเด็นดังนี้ 1.พื้นที่รอบสถานศึกษาภายในชุมชนบ้านพรุยังมีร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่เหล้าและร้านเกมอยู่ใกล้ๆโรงเรียนและบ้านนักเรียน 2 ชุมชนโดยรอบโรงเรียนวัดเทพชุมนุมมีการมั่วสุมเสพและจำหน่ายยาเสพติด เช่นยาบ้า ยาไอซ์ นักเรียนอาจจะมีพฤติกรรมลอกเลียนแบบได้ 3 มาตรการตรวจจับตำรวจยังไม่ได้ดำเนินการและลงมืออย่างเด็ดขาดครอบคลุมในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง 4 ผู้ปกครองญาติของนักเรียนบางคนมีความยุ่งเกี่ยวกับการจำหน่ายและการเสพยาเสพติดบางประเภท 5 เยาวชนขาดแบบอย่างที่ดีสถาบันครอบครัวอ่อนแอส่งผลให้นักเรียนบางส่วนเกิดปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น คบเพื่อนไม่ดีมั่วสุม สูบบุหรี่ทะเลาะวิวาท ขับรถซิ่ง เป็นต้น 6 ชุมชนยังขาดความเข้าใจในปัญหายาเสพติดในด้านการส่งผลต่อส่วนรวม บางส่วนยังขาดความตระหนัก มองว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเองและไม่ได้ใส่ใจในปัญหาเหล่านี้ 7 ผู้ปกครองไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนบุตรหลาน เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจปากท้องของครอบครัวบางส่วนทำงานกลางคืนหรือทำงานต่างจังหวัด ทำให้ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของบุตรหลาน หรือดูแลเอาใจใส่ได้อย่างทั่วถึงนักเรียนขาดความรักความอบอุ่นบางคนจึงมีพฤติกรรมก้าวร้าวอาจเสี่ยงเข้าไปมั่วสุมเรื่องสารเสพติด จากสภาพปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนดังได้กล่าวถึงข้างต้น โรงเรียนวัดเทพชุมนุมตระหนักและเห็นความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน และเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนคนรุ่นใหม่ห่างไกลยาเสพติด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น

ร้อยละของเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น

30.00 25.00
2 เพื่อลด ภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

ร้อยละของเยาวชน (อายุ 10-15 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์  ลดลง

25.00 20.00
3 เพื่อลดภาวะเสี่ยงการตั้งครรภ์ซ้ำ

ร้อยละของเยาวชน (อายุต่ำกว่า 20 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการตั้งครรภ์ซ้ำ ลดลง

18.00 15.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 สภาเยาวชนต้นกล้า(1 พ.ค. 2567-1 พ.ค. 2567) 7,000.00          
2 กิจกรรมรณรงค์(1 พ.ค. 2567-15 ก.ย. 2567) 15,660.00          
3 จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางการป้องกันเยาวชนไม่ไป ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด(1 มิ.ย. 2567-15 ก.ย. 2567) 9,100.00          
4 การคัดกรองนักเรียนที่มีความเสี่ยง(1 มิ.ย. 2567-30 มิ.ย. 2567) 6,900.00          
5 จัดอบรม “รู้เท่าทันป้องกันปัญหา การตั้งครรภ์ ในวัยเรียน”(1 ก.ค. 2567-31 ก.ค. 2567) 7,300.00          
6 จัดอบรม “พระธรรม เราทำ สร้างคนดี”(1 ส.ค. 2567-31 ส.ค. 2567) 13,300.00          
7 จัดอบรมคำสอนของในหลวงรัชกาลที่9และรัชการที่10 หลักในการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน(1 ส.ค. 2567-31 ส.ค. 2567) 7,300.00          
8 การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์/จิตอาสา ในโรงเรียนและชุมชน(1 ส.ค. 2567-31 ส.ค. 2567) 0.00          
9 ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงาน(1 ส.ค. 2567-31 ส.ค. 2567) 0.00          
รวม 66,560.00
1 สภาเยาวชนต้นกล้า กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 7,000.00 0 0.00
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 สภาเยาวชนต้นกล้า 200 7,000.00 -
2 กิจกรรมรณรงค์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 300 15,660.00 0 0.00
1 พ.ค. 67 - 15 ก.ย. 67 กิจกรรมรณรงค์ 300 15,660.00 -
3 จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางการป้องกันเยาวชนไม่ไป ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 9,100.00 0 0.00
1 - 30 มิ.ย. 67 จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางการป้องกันเยาวชนไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 100 9,100.00 -
4 การคัดกรองนักเรียนที่มีความเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 6,900.00 0 0.00
1 - 30 มิ.ย. 67 การคัดกรองนักเรียนที่มีความเสี่ยง 200 6,900.00 -
5 จัดอบรม “รู้เท่าทันป้องกันปัญหา การตั้งครรภ์ ในวัยเรียน” กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 7,300.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 67 จัดอบรม รู้เท่าทันป้องกันปัญหา การตั้งครรภ์ ในวัยเรียน 100 7,300.00 -
6 จัดอบรม “พระธรรม เราทำ สร้างคนดี” กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 300 13,300.00 0 0.00
1 - 31 ส.ค. 67 จัดอบรม พระธรรม เราทำ สร้างคนดี 300 13,300.00 -
7 จัดอบรมคำสอนของในหลวงรัชกาลที่9และรัชการที่10 หลักในการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 7,300.00 0 0.00
1 - 31 ส.ค. 67 จัดอบรมคำสอนของในหลวงรัชการที่ 9 และรัชกาลที่ 10 หลักในการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน 100 7,300.00 -
8 การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์/จิตอาสา ในโรงเรียนและชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
9 ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เกิดคณะทำงานกลุ่มแกนนำเยาวชนที่สามารถเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มเพื่อนเยาวชนให้มีพฤติกรรมที่ดีสู่สังคมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้แก่นักเรียน
2 พัฒนาศักยภาพนักเรียน ให้สามารถป้องกันตนเองไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 3 เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันการเสี่ยงกับสารเสพติดทุกชนิดของกลุ่มเยาวชน 4 เกิดแนวทางการป้องกันในกลุ่มเยาวชนไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเป้าหมาย 300 คน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2567 11:48 น.