กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุม อสม.นักวิทย์ฯเทศบาลเมืองพัทลุง 3 เม.ย. 2567 3 เม.ย. 2567

 

  • ภญ.ศจีรัตน์ หลีวิจิตร เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลพัทลุง(ครูพี่เลี้ยง)  พร้อมด้วยสมาชิก อสม.นักวิทย์เทศบาลเมืองพัทลุง  ร่วมประชุมเพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการ  ประจำปี ๒๕๖๗ เพื่อขับเคลื่อนงานร่วมกับครูพี่เลี้ยง
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ซักถามปัญหาทั่วไป

 

  • เกิดโครงการ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองสุขภาพในชุมชน
  • อสม.นักวิทย์ มีความรู้ความเข้าใจ ในการปฏิบัติงาน ตามโครงการ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองสุขภาพในชุมชน

 

ตรวจร้านชำ 135 ร้าน 45 ชุมชน 4 เม.ย. 2567 4 เม.ย. 2567

 

  • ประชุมและให้ความรู้ อสม.นักวิทย์ฯเทศบาลเมืองพัทลุง เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ
  • อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน และ อสม.คุ้มครองผู้บริโภคฯ เทศบาลเมืองพัทลุง พร้อมด้วยเภสัชกรพี่เลี้ยงจากโรงพยาบาลพัทลุง ร่วมตรวจร้านชำในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง จำนวน 138 ร้าน 45 ชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
  • สรุปผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรค           พบร้านชำผ่านเกณฑ์มาตรฐาน  ร้านชำคุณภาพ เป็นประเภทร้านชำสีเขียว จำนวน 126 ร้าน           พบร้านชำผ่านเกณฑ์มาตรฐาน  เป็น  เป็นประเภทร้านชำสีเหลือง จำนวน 1 ร้าน           พบร้านชำไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน  เป็น  เป็นประเภทร้านชำสีแดง จำนวน 11 ร้าน และได้แนะนำไม่ให้ร้านชำขายยาอันตราย ผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ  หมดอายุ สินค้าที่ติดฉลากไม่มีภาษาไทย

 

  • เกิดการเฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย และไม่ได้มาตรฐาน  และได้ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในตลาดสด  ตลาดนัด
  • มีตลาดนัดน่าซื้อ อาหารปลอดภัย ปลอดสารปนเปื้อน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง

 

ตรวจสารปนเปื้อนในตลาดสดตลาดนัดในเขตเทศบาลเมือง 5 แห่ง 22 เม.ย. 2567 10 เม.ย. 2567

 

  • ประชุมฟื้นฟู และเพิ่มพูนความรู้แก่ อสม.นักวิทย์
  • อสม.นักวิทย์ฯ ร่วมกับเภสัชกรพี่เลี้ยง และเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองพัทลุง ลงปฏิบัติการเก็บตัวอย่างอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อนำมาตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร บริเวณตลาดสดในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ได้แก่ตลาดสดท่ามิหรำ ตลาดสดผดุงดอนยอ ตลาดทุ่งไหม้ ตลาดควนมะพร้าว และตลาดสดเทศบาลเมืองพัทลุง จำนวน 229 ตัวอย่าง
  • ลงปฏิบัติการตรวจสารปนเปื้อน จากตัวอย่างอาหารที่เก็บมา
  • สรุปผลการดำเนเนงาน ปัญหาอุปสรรค           ตรวจสารบอแรกซ์ ในหมูบด, ลูกชิ้น, ไส้กรอก จำนวน 27 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 27 ตัวอย่าง รวมผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 100%           ตรวจสารฟอร์มาลีน ในน้ำแช่อาหารทะเล จำนวน 25 ตัวอย่าง  ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 24 ตัวอย่าง ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 1 ตัวอย่าง ในน้ำแช่กุ้ง  รวมผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 96%           ตรวจสารกันรา ในน้ำดองผัก จำนวน 26 ตัวอย่าง  ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 25 ตัวอย่าง ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 1 ตัวอย่าง ในน้ำผักกาดดอง  รวมผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 96.15%           ตรวจสารฟอกขาว ในถั่วงอก ขิงซอย หน่อไม้ดอง จำนวน 23 ตัวอย่าง  ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 23 ตัวอย่าง รวมผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 100%           ตรวจยาฆ่าแมลงในผักสด ผลไม้ จำนวน 128 ตัวอย่าง  ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 117 ตัวอย่าง ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 11 ตัวอย่าง ในกระเทียม 8 ตัวอย่าง, กะหล่ำปลี 1 ตัวอย่าง, ผักกาดขาว 1 ตัวอย่าง และหัวหอม 1 ตัวอย่าง  รวมผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 91.41%

 

  • เกิดการเฝ้าระวัง และให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในตลาดสด ตลาดนัด
  • มีตลาดนัดน่าซื้อ อาหารปลอดภัย ปลอดสารปนเปื้อน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง

 

เก็บตัวอย่างอาหารและเคริ่องดื่มเพื่อตรวจสอบความเค็มและความหวานจากร้านขายข้าวแกงและเครื่องดื่ม 19 พ.ค. 2567 17 พ.ค. 2567

 

-  ประชุมและให้ความรู้ อสม.นักวิทย์ฯ เทศบาลเมืองพัทลุง เกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างอาหารและเคริ่องดื่มเพื่อตรวจสอบความเค็มและความหวานจากร้านขายข้าวแกงและเครื่องดื่ม -  ลงปฏิบัติการเก็บตัวอย่าง อาหารและเคริ่องดื่ม จากร้านขายข้าวแกงและเครื่องดื่ม -  ลงปฏิบัติการทดสอบความเค็ม และความหวานของอาหารและเคริ่องดื่ม จากร้านขายข้าวแกงและเครื่องดื่ม จากตัวอย่างจำนวน 93 ตัวอย่า่ง
-  ตรวจวัดระดับความเค็มจำนวน 22 ตัวอย่าง พบความเค็มที่ผ่านเกณฑ์อาหารสุขภาพ จำนวน 2 ตัวอย่าง ไมผ่านเกณฑ์ 20 ตัวอย่าง -  ตรวจวัดระดับความหวานในเครื่องดื่ม จำนวน 71 ตัวอย่าง พบความหวานที่ผ่านเกณฑ์อาหารสุขภาพ จำนวน 31 ตัวอย่าง ไมผ่านเกณฑ์ 40 ตัวอย่าง ซึ่งเครื่องดื่มที่ผ่านเกณฑ์สุขภาพส่วนใหญ่จะเป็นเมนูหวานน้อย

 

  • ให้คำแนะนำผู้จำหน่าย อาหารและเครื่องดื่ม ลดความเค็ม และความหวานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้้บริโภค
  • ผู้บริโภคเกิดความปลอดภัย ป้องกัน และลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

 

อบรมผู้นำ อย.น้อยในโรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง 3 มิ.ย. 2567 11 ก.ค. 2567

 

  • ประชุมและให้ความรู้ อสม.นักวิทย์ฯเทศบาลเมืองพัทลุง เกี่ยวกับการปฏิบัติการเชิงรุกอบรมผู้นำ อย.น้อยในโรงเรียน
  • ลงปฏิบัติการเชิงรุกอบรมผู้นำ อย.น้อยในโรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
  • เดินรณรงค์ การบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ปลอดภัย

 

  • นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถเลือกบริฝดภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยได้ด้วยตนเอง
  • เกิดเครือข่าย อย.น้อย ในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารและยารอบรั้วโรงเรียน

 

ตรวจอาหารและยารอบรั้ววัด โรงเรียน โรงพยาบาล ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง 10 มิ.ย. 2567 17 ก.ค. 2567

 

  • ประชุมและให้ความรู้ อสม.นักวิทย์เทศบาลเมืองพัทลุง เกี่ยวกับการตรวจอาหารและยา รอบรั้ววัด โรงเรียน  โรงพยาบาล
  • ลงปฏิบัติการปฏิบัติการตรวจอาหาร และยารอบรั้ววัด โรงเรียน โรงพยาบาล ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ร่วมกับ ผู้นำ อย.น้อย

 

  • เกิดการเฝ้าระวัง และให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่จำหน่ายอาหารและยารอบรั้ว วัด และโรงเรียน
  • อาหารและยารอบรั้ว วัด โรงเรียน โรงพยาบาล มีความปลอดภัยกับเด็กและประชาชนผู้บริโภค
  • เกิดการฝึกปฏิบัติงานจริง ของผู้นำ อย.น้อย

 

เก็บตัวอย่างน้ำมันทอดซ้ำและทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 26 ก.ค. 2567 27 ก.ค. 2567

 

  • ประชุมและให้ความรู้ อสม.นักวิทย์ฯ เทศบาลเมืองพัทลุง เกี่ยวกับการเก็บตัวอย่าง และตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ
  • ลงปฏิบัติการเก็บตัวอย่างน้ำมันทอดซ้ำ จากร้านอาหาร, หาบเร่, แผงลอย ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
  • ลงปฏิบัติการทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ
  • สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค
  • มอบเกียรติบัตร อาหารปลอดภัย แก่ร้านที่มีปริมาณสารโพลาร์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

 

  • เกิดการเฝ้าระวัง ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารประเภททอด
  • ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารประเภททอดที่ปลอดภัย
  • ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภค ร้านที่จำหน่ายอาหารประเภททอดที่ปลอดภัย จาก ร้านที่ติดสติ๊กเกอร์ "ร้านนี้ น้ำมันทอดปลอดภัย"

 

ประชุมฟื้นฟูความรู้พัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อสม.นักวิทย์ฯเทศบาลเมืองพัทลุง 26 ส.ค. 2567 28 ส.ค. 2567

 

  • ประชุมฟื้นฟูความรู้พัฒนาศักยภาพ บทบาทหน้าที่ของ อสม.นักวิทย์ฯเทศบาลเมืองพัทลุง เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้  สรุปผลการดำเนเนงาน  ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองสุขภาพชุมชน ปี ๒๕๖๗

 

มี อสม.นักวิทย์ฯที่มีความรู้ความสามารถ ในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ เชี่ยวชาญงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค