กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต
รหัสโครงการ 67-L1485-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2567
งบประมาณ 5,325.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณัฐวรา ปราบแทน พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากนโยบาย Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และทิศทางหนึ่งคือ การยกระดับคุณค่ามนุษย์ พัฒนาคนไทยให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ควบคู่กับการเป็น “คนไทย 4.0 ในโลกที่หนึ่ง” โดยมีการกำหนดคุณลักษณะของคนไทย 4.0 คือ คนไทย มี IQ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 100 ภายใน 5 ปี และร้อยละ 70 ของเด็กไทย มีคะแนน EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ในปี 2559 กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินการสำรวจสถานการณ์ความฉลาดทางสติปัญญา (ไอคิว: IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว : EQ) เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 23,641 คน พบว่า เด็กมีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 98.2 ซึ่งสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในปี 255๙ เฉลี่ยอยู่ที่ 94 แต่สิ่งที่ต้องชวนคิดชวนคุยกันให้มากขึ้นนั้นคือ ยังพบเด็กที่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่องหรือต่ำกว่า 70 ถึงร้อยละ 5.8 สูงกว่ามาตรฐานสากล (ไม่ควรเกินร้อยละ 2)  ใน 1,000 วันแรกของชีวิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วัน อยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทย ให้มีคุณภาพ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง จากสถานการณ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอกพบว่าในแต่ละปี มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉลี่ย 10 ราย โดยในปี 2565 มีคนท้องทั้งหมด 15 ราย ปี 2566 มีคนท้องทั้งหมด 20 ราย ซึ่งหากเราให้ความสำคัญในคุณแม่ทั้งครรภ์และหลังคลอด จะช่วยส่งเสริมให้เด็กที่คลอดออกมาได้มีพัฒนาการที่สมวัย และส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของเด็กต่อไป   ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก จึงได้จัดทำโครงการการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรที่เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพแข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และส่งเสริมพัฒนาการ และเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

2 2. เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว

ตัวชี้วัด เด็กแรกเกิด – 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว 100 %

3 3. เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน

ตัวชี้วัด เด็กแรกเกิด – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยสูงสมดีสมส่วน 80%

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ
  2. ขั้นดำเนินการ
            2.1 ประสานผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามโครงการ         2.2 สำรวจข้อมูล ทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ และ เด็ก 0-5 ปี ในพื้นที่ ที่เป็นข้อมูลปัจจุบัน         2.3 กิจกรรมอบรมส่งเสริมสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์ สามี และผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต         2.4 ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ และ เด็ก 0-5 ปี อย่างต่อเนื่อง         2.5 สรุปกิจกรรมโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ไม่พบทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
  2. ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการเด็กสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
  3. ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  4. ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัยมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอนามัยของแม่และเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2567 11:19 น.