กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน
รหัสโครงการ 67-L1485-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2567
งบประมาณ 19,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณัฐวรา ปราบแทน พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันนี้ แม้การแพทย์จะสามารถเอาชนะโรคร้ายต่างๆมากมาย ทำให้ประชากรโลกรอดพ้นจากการเจ็บป่วยเหล่านั้นและมีอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่จำนวนคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเรียกรวมกันว่า เมตะบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) กลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในปัจจุบัน คือการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนอ้วน เพราะอุปนิสัยการกินอยู่ที่เปลี่ยนไป มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงในการใช้ชีวิตประจำวัน กินอาหารที่มีไขมันเพิ่มขึ้น ซึ่งไขมันที่สะสมอยู่ที่พุงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นตัวนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทย พบว่า เด็กไทยอายุ 6-14ปี มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 11.7 ในปี 2561 เป็น ร้อยละ 12.4 ในปี 2564 ส่วนวัยผู้ใหญ่อายุ 19 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จากสถิติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก พบว่ามีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนมากถึง ร้อยละ 45.6 ในปี 2563 และเพิ่มเป็นร้อยละ 46.2 ในปี 2564 และร้อยละ 46.6 ในปี 2565 จากสถิติทั้งหมด 1,890 คน และพบว่า กลุ่มเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วน ประมาณ 350 ราย ซึ่งเป็นโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตในการลดการเกิดของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือดต้องทำโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมทั้งหมดด้วยการรณรงค์เรื่องวิถีชีวิต ทำให้เกิดความตระหนักในอันตรายของอาหารที่ทำให้เกิดความอ้วน อันตรายของชีวิตที่กินๆนอนๆไม่ขยับเขยื้อน ไม่ออกกำลังกาย การปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะส่งผลให้โรคแทรกซ้อนเกิดเร็วขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนเพื่อให้ประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง รวมถึงประชาชนทั่วไป ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงพฤติกรรมของการเกิดโรค และสามารถรับผิดชอบในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดจนดำรงรักษาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงหรือเป็นโรคอ้วนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโทษภัย ตลอดจนวิธีการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคอ้วน

ร้อยละ 70 ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยวัดจากการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง

2 ๒. เพื่อให้อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ที่มาจากลุ่มเสี่ยงลดลง เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีอัตราการเป็นโรคอ้วนลดลง

ร้อยละ 70 ของจำนวนผู้มีค่า BMIเกิน มีค่า BMI ลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ

3 3.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงหรือเป็นโรคอ้วนได้มีการออกกำลังกาย

ร้อยละ 50ของจำนวนผู้มีค่า BMIเกิน เข้าร่วมโครงการทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ3 วัน เป็นระยะเวลา 3 เดือน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ
  2. ขั้นดำเนินการ
            2.1 ประสานผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามโครงการ         2.3 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ คณะทำงานควบคุมโรค ผู้นำชุมชน และขอความร่วมมือในการดำเนินงาน 2.3 ประชุมให้คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม
    2.4 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม. ประเมินปัจจัยเสี่ยงรายบุคคลพร้อมแนะนำ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ /การปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารเฉพาะโรค การออกกำลังกาย
    2.5 อบรมให้ความรู้เรื่องโทษภัย ตลอดจนวิธีการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคอ้วน โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่ผู้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน (BMI ≥ 23) และผู้ที่มีเส้นรอบเอว ≥ 36 นิ้ว (เพศชาย) และ ≥ 32 นิ้ว (เพศหญิง) 2.6 ประชาสัมพันธ์รณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ปลอดโรคภัยไข้เจ็บ
    2.7 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยหลัก ๓ อ. ในกลุ่มประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีการประเมินค่า BMI และรอบเอวทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3
      2.7 สรุปผลการดำเนินงานตรวจสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล และคืนข้อมูลการดำเนินงานกลับไปยัง หมู่บ้าน/ชุมชน อสม. อบต. ทราบภาวะของโรค เพื่อให้ได้มีส่วนร่วมในการ ติดตาม แนะนำการดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
        2.8 รายงานผลการดำเนินงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน มีความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย
๒. อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตอ้วนที่มาจากกลุ่มเสี่ยงลดลง
๓. มีคณะกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับตำบล ในการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพให้เข้าถึงประชาชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2567 11:39 น.