กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารสะอาด ปราศจากสารปนเปื้อน
รหัสโครงการ 67-L1515-01–08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองมวน
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจิตติมา สังข์สุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.9,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะว่ามีปัญหาการปนเปื้อนของสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข จึงมีมาตรการดำเนินการตรวจสอบสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา และฟอร์มาลีน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองมวน เล็งเห็นความสำคัญของความปลอดภัยทางด้านอาหาร จึงได้จัดทำโครงการอาหารสะอาด ปราศจากสารปนเปื้อน ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร พัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเพิ่มศักยภาพของคณะทำงานการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2. เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ด้วยการตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร 3. เพื่อรับรองคุณภาพของร้านจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค 4. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการนำอาหารที่ปลอดภัยมาจำหน่าย
  1. คณะทำงานการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ในการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร สามารถวิเคราะห์และแปลผลการตรวจได้ถูกต้อง
    1. ร้อยละ 90 ของร้านจำหน่ายอาหารสด ในตลาดคลองมวน จำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 12,250.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 1.กิจกรรมประชุมชี้แจงในการตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร2.กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 4 ชนิด3.กิจกรรมประชุมสรุปผลการตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร รายงานผล และมอบป้าย 30 12,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะทำงานการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ในการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร สามารถวิเคราะห์และแปลผลการตรวจได้ถูกต้อง สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหาร
    1. ประชาชนในพื้นที่ ได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปราศจากสารปนเปื้อน
    2. ผู้ประกอบการนำอาหารที่สะอาด ปลอดภัย มาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2567 13:33 น.