กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้เท่าทัน ป้องกันตนเองจากโรคติดต่อในชุมชน
รหัสโครงการ 67-L1485-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขม.10 บ้านทุ่งข่า
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเสกสรร ทองขวิด ประธานอสม. ม.10 บ้านทุ่งข่า
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อ คือ โรคที่สามารถถ่ายทอดติดต่อถึงกันได้ระหว่างบุคคล โดยมีเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ เป็นสาเหตุของโรค และถึงแม้ว่าเชื้อโรคจะเป็นตัวก่อเหตุ แต่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ ก็เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญที่จะทำให้เกิดโรคติดต่อนั้น ๆ ขึ้นสำหรับในประเทศไทยเป็นบริเวณร้อนชื้น จึงทำให้เชื้อโรคและแมลงที่เป็นพาหะนำโรคเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ง่าย ประเทศเขตร้อนจึงพบโรคติดต่อชนิดต่าง ๆ มากกว่าประเทศที่มีอากาศหนาว โดยโรคที่พบบ่อยในแถบเขตร้อน จะเรียกรวมว่า "โรคเขตร้อน"(Tropical Diseases) ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อได้มากมายหลายชนิด นับตั้งแต่เชื้อไวรัสซึ่งมีขนาดเล็กมากลงไปจนถึงสัตว์เซลล์เดียว และหนอนพยาธิต่าง ๆ
โรคติดต่อ ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2523 ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 โดยได้มีประกาศรัฐมนตรี เรื่องโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ ซึ่งจากข้อมูลในปี 2559 ระบุว่า โรคติดต่อ มีทั้งหมด 52 โรค โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ มีทั้งหมด 23 โรค  ปัจจุบันโรคติดต่อที่เป็นอันตรายหลายชนิดถูกควบคุมและกำจัดไปหมดแล้ว เช่น กาฬโรค ไข้ทรพิษ ส่วน โรคติดต่อ บางชนิดยังคงพบอยู่บ้างแต่ลดความรุนแรงของโรคลง เช่น อหิวาตกโรค แต่ก็ยังคงมีโรคติดต่อหลายชนิดปรากฎอยู่ และยังพบโรคติดต่อชนิดใหม่เกิดขึ้นอยู่ โรคติดต่อที่ยังพบในปัจจุบันมีอยู่หลายโรค แต่โรคติดต่ออะไรบ้างที่พบได้บ่อยในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก ที่ควรรู้จักไว้มี ไข้เลือดออก เลปโตสไปโรซิส ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ โรคตาแดง และโรคอุจจาระร่วง เป็นต้น
เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก มีการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในชุมชน ให้ประสบผลสำเร็จ และ เกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการกำจัดพาหะนำโรค และแหล่งเกิดโรค รวมถึงการป้องกันตนเองของคนในชุมชน ทางชุมชนบ้านลำปลอก ได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ชมรมอสม.ม.10 จึงได้จัดทำโครงการโครงการรู้เท่าทัน ป้องกันตนเองจากโรคติดต่อในชุมชน ประจำปี 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันการเกิดโรคติดต่อในชุมชน

 

2 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและกระตุ้นให้เห็นความสำคัญ มีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน

 

3 3. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อในเขตรับผิดชอบ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 ประชุมชี้แจง แกนนำ, อสม ตำบลบ้านลำปลอกเพื่อจัดทำโครงการ 1.2 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ
  2. ขั้นดำเนินการ
        2.1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่าย เพื่อรับทราบสถานการณ์โรคและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน     2.2 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ชุมชน เพื่อร่วมวางแผนดำเนินการ
        2.3 ประชาสัมพันธ์โครงการ แจ้งผู้นำชุมชน โรงเรียน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง     2.4 อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัว และอสม. นักเรียน ให้ความรู้โรคติดต่อ     2.5 กิจกรรมรณรงค์และให้ความรู้โรคติดต่อ ในหมู่บ้านร่วมกับแกนนำครอบครัว อสม. นักเรียน ทั้งในโรงเรียน วัดและชุมชน
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีแกนนำสุขภาพ ในการรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อในชุมชน
    1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ
    2. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อใน เขตรับผิดชอบ  ลดลง ≥ร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2567 14:44 น.