กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้เบื้องต้นในการช่วยฟื้นคืนชีพและการใช้เครื่อง AED
รหัสโครงการ 67-L1510-02-
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.หนองบ่อ
วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มีนาคม 2567 - 28 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 12 เมษายน 2567
งบประมาณ 14,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอำนวย นวลแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองบ่อ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.416,99.718place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 มี.ค. 2567 28 มี.ค. 2567 14,100.00
รวมงบประมาณ 14,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากภาวะความเจ็บป่วยและโรคประจำตัวในปัจจุบันที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะผู้ป่วยหมดสติ หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมากขึ้น สิ่งที่มีความสำคัญในการรักษาเบื้องต้นของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คือการทำ CPR หรือที่เรียกว่า “การปั๊มหัวใจ” ที่มีความรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้อง เพื่อช่วยผู้ป่วยที่หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้นจากภาวะฉุกเฉินต่างๆ เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ไฟฟ้าช๊อต จมน้ำ ฯลฯ
การช่วยชีวิตอย่างถูกต้องและรวดเร็วภายใน 4 นาที ป้องกันการเกิดภาวะสมองตายจากการขาดออกซิเจน เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยรอดชีวิต มีหัวใจกลับมาเต้นดังเดิม หรือยืดเวลาให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อไปยังทีมแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย อุปกรณ์ที่สำคัญในการกู้ชีพคือ เครื่องกระตุกหัวใจ ที่เรียกว่าเครื่อง Automated external defibrillator (AED) เป็นเครื่องมือช่วยประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจว่ามีความจำเป็นต้องช๊อตไฟฟ้าผู้ป่วยหรือไม่ โดยเครื่องจะวิเคราะห์ไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วย และพร้อมทำการช๊อตไฟฟ้าเมื่อพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดผิดปกติของผู้ป่วย ซึ่งเครื่องมือนี้ ถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมาก ในการเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ผู้เข้าอบรมจำนวน 30 คน ทุกคนสามารถปฏิบัติการฝึกอบรม ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน 2.ผู้เข้าอบรมจำนวน 30 คน สามารถปฏิบัติการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (AED) ได้ทุกคน
  1. ผู้เข้าอบรมสามารถทำ CPR ได้ถูกต้องตามหลักการ
  2. ผู้เข้าอบรมสามารถเปิดใช้เครื่อง (AED) ได้และปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำแนะนำของเครื่องทุกคน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าอบรมสามารถทำการช่วยฟื้นคืนชีพได้ถูกต้องตามวิธีการและสามารถใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจได้ถูกต้อง
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพและมีความมั่นใจในการให้ความช่วยเหลือเมื่อประสบเหตุใกล้ตัว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2567 14:46 น.