กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสูงวัย ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 67-L1485-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขม.13 บ้านพรุราชา
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุชิน ขันนุ้ย ประธานอสม. ม.13 บ้านพรุราชา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ปี 2566 เป็นปีแห่งสุขภาพสูงวัยไทย เพื่อกระตุ้นเตือนให้ทุกคนตระหนักรู้ว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบในปี 2572 จากรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนประชากรนี้จะนำมาซึ่งความจำเป็นเร่งด่วนในด้านบริการสาธารณสุข และการสนับสนุนด้านสุขภาพที่ครอบคลุม เพื่อรับมือกับวิกฤติครั้งใหม่เมื่อประเทศไทยแก่ตัวลง
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตรพ.สต.บ้านลำปลอก มีจำนวน 320 คน ซึ่งชุมชนบ้านพรุราชา มีผู้สูงอายุ จำนวน 54 คน และผู้ที่มีอายุ 55-59 ปี จำนวน 28 คน ที่จะต้องเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ  เป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยมีญาติหรือผู้ดูแล เนื่องจากปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่พบเจอบ่อย เช่น โรค ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุที่จะเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และนำสู่ความพิการในอนาคตต่อไป ดังนั้น จึงจำเป็นที่หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น รพ.สต. อบต. แกนนำสุขภาพในพื้นที่ ต้องช่วยกันเผยแผ่ความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพและการให้ความรู้ใน การดูแลสุขภาพจำเป็นจะต้องดูแลทั้งทางร่างกายและจิตใจ อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุ ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ ไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทำให้ ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล ดังนั้น เพื่อให้มีการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นไปอย่างต่อเนื่องยั่งยืน และมีศักยภาพในการปฏิบัติงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ ให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น
ทางชุมชนบ้านพรุราชา หมู่ที่ 13 โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขม.13 จึงได้จัดทำโครงการสูงวัย ใส่ใจสุขภาพ โดยใช้หลัก 3 อ. เพื่อให้แกนนำ ญาติ/อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถดูแลและ ช่วยเหลือกันเองได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแล

 

2 เพื่อให้ญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ

 

3 เพื่อให้แกนนำผู้สูงอายุมีความรู้ในสิทธิของผู้สูงอายุและสามารถช่วยเหลือตัวเองและผู้สูงอายุคนอื่นได้

 

4 เพื่อให้ญาติและผู้ดูแลผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 ประชุมชี้แจง แกนนำ, อสม ,ผู้ดูแล ตำบลบ้านลำปลอกเพื่อจัดทำโครงการ 1.2 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ
  2. ขั้นดำเนินการ
        2.1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่าย เพื่อรับทราบสถานการณ์โรคและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน     2.2 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. ชุมชน เพื่อร่วมวางแผนดำเนินการ
        2.3 ประชาสัมพันธ์โครงการ แจ้งผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง     2.4 อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัว อสม. และผู้ดูแล ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม     2.5 สอนและสาธิตย้อนกลับ วิธีการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ มีทักษะ สามารถให้การดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองได้หลังรับการฟื้นฟูสมรรถภาพหรือ เป็นภาระแก่ ครอบครัวให้น้อยที่สุด
  3. ญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนมาใช้ เพื่อการพัฒนา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  4. ผู้สูงอายุสามารถให้ความช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการกันเองในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคน พิการ เพื่อให้ผู้สูงอายุ/ผู้พิการสามารถดำรงชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข และมีส่วนช่วยเหลือสังคมทั้ง ทางเศรษฐกิจและสังคมอีกทางหนึ่ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2567 14:55 น.