กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก ปลอดภัยห่างไกลโรคปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3061-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 27,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปัทมา แวสะแลแม
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูหะหมัด วันสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้ว หมู่บ้านชุมชน และประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุมกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชาชนเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องต่อไป การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ ในปีงบประมาณ 2566 พบว่า เด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 100 คน รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ จำนวน 45 คน ร้อยละ 45 ไม่รับวัคซีนตามเกณฑ์ จำนวน 55 คน ร้อยละ 55สาเหตุเนื่องผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของวัคซีน เช่น กลัวลูกเจ็บป่วยหรือมีไข้หลังการฉีดวัคซีนทำให้ไม่นำบุตรมาฉีดวัคซีนและฉีดไม่ต่อเนื่องและผู้ปกครองบางส่วนต้องออกไปประกอบอาชีพรับจ้างนอกพื้นที่ เช่นรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม รับจ้างตามร้านค้าในเขตอำเภอเมืองปัตตานีโดยฝากบุตรไว้กับญาติหรือจ้างพี่เลี้ยงทำให้ไม่สามารถนำบุตรมาฉีดวัคซีนตามนัดได้ รพ.สต.เกาะเปาะจึงได้จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยมีการพัฒนาระบบการติดตามและออกปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชนมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้เรื่องการให้บริการวัคซีนเด็กอายุ 0-5 ปี

1.ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปีมีความรู้เรื่องการให้บริการวัคซีนแก่เด็กอายุ 0-5 ปี ร้อยละ 90

30.00 10.00
2 2.เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์

2.เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ 95

30.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 289 27,150.00 0 0.00
10 มิ.ย. 67 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและถอดบทเรียนแก่เจ้าหน้าที่และ อสม. 49 4,900.00 -
11 มิ.ย. 67 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง 100 18,250.00 -
12 มิ.ย. 67 เวทีการคืนปัญหาให้แก่ชุมชนและเครือข่ายในทีมตำบลเกาะเปาะได้รับการฉีดวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตามเกณฑ์ร้อยละ 95 40 4,000.00 -
13 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 เสริมแรงจูงใจแก่เด็กกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ปกครองนำมารับวัคซีนที่ รพ.สต.ทุกครั้ง 100 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ มีระบบการติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความต่อเนื่อง ทำให้เด็กกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ประชาชนปลอดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567 10:55 น.