กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการต้านเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุด้วยแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ 67-L1485-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2567
งบประมาณ 18,070.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.กนกพร ส่องแสง ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคปวดเข่าหรือโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เป็นโรคหนึ่งที่เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญระดับโลก องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นเป็น 570 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2563 ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ จากการศึกษา พบว่ามีผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ร้อยละ 43.9 โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสุขภาพและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เช่นกัน เนื่องจากก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน เป็นอุปสรรคในการเข้าสังคม ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่ต้องรับประทานยากลุ่มNSAIDs เพื่อใช้บรรเทาอาการปวด ซึ่งยากลุ่มจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคอื่นๆตามมา เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคไต สาเหตุของการเจ็บป่วย เกิดจาก 1.อายุมากมีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมมาก เนื่องจากอายุการใช้งานข้อเข่ามาก พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย  2-3 เท่า 2. คนที่มีรูปร่างอ้วน มีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนผอม 3. การใช้งาน และท่าทาง ในการทำกิจกรรมที่ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ยกของหนัก นั่งพับเพียบ 4. โครงสร้างเข่าผิดรูปตั้งแต่กำเนิด เช่น เข่าโก่ง 5. เคยประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับข้อเข่า 6.โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ , เก๊าท์ เป็นต้น ภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้กลุ่มผู้สูงอายุลดการใช้ยา โดยการบำบัดด้วยการแพทย์แผนไทย จาการคัดกรองข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ พบว่ามีผู้สูงอายุที่มีอาการและโอกาสที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม เกือบ 60 คน ซึ่งบางรายยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัญหาการปวดข้อเข่าจึงส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหว และมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ จึงได้จัดทำโครงการต้านเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุด้วยแพทย์แผนไทย โดยการให้ความรู้ในการใช้สมุนไพรในการพอกเข่า และการทำลูกประคบสมุนไพร เพื่อช่วยลดอาการปวด บวม อักเสบของข้อเข่า ลดการกินยา ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเสริมการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมหรืออาการปวดเข่าได้ และผู้สูงอายุสามารถใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเข่าของตนเองที่บ้านได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพเข่าของตนเอง

 

2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นอย่างถูกต้อง

 

3 3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการผลิตและใช้สมุนไพรในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ๒.จัดทำโครงการฯเสนอของบประมาณ ๓.ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่ เจ้าหน้าที่ และขอความร่วมมือในการดำเนินงาน
๔.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ -จัดอบรมให้ความรู้ด้านการใช้สมุนไพรดูแลเข่า
-ฝึกปฏิบัติการทำสมุนไพรพอกเข่า ลูกประคบสมุนไพร   7.ประเมินผลการดำเนินงาน 8.รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพเข่าของตนเอง
  2. ผู้สูงอายุสามารถใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นอย่างถูกต้อง
  3. ผู้สูงอายุมีองค์ความรู้เรื่องการผลิตและใช้สมุนไพรในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567 11:00 น.