กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
รหัสโครงการ 67-L1485-1-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2567
งบประมาณ 19,810.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.กนกพร ส่องแสง ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ ๐ – 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ มีเด็กอายุแรกเกิด-5ปี ในเขตรับผิดชอบจำนวน 61 คน มีเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าและได้รับการกระตุ้นจำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.92 และมีแนวโน้มว่าจะมีเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าเพิ่มสูงขึ้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ๐ – 5 ปี ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก  ๐ – 5 ปี ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของบุตรหลานที่บ้านได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐-5 ปี

 

2 2.เพื่อให้เด็ก ๐–5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ

 

3 3.เพื่อให้เด็ก ๐ – 5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ และได้รับการส่งต่อรักษาที่ถูกต้องในรายที่พบความผิดปกติ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ๒.จัดทำโครงการฯเสนอของบประมาณ ๓.ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่ เจ้าหน้าที่ และขอความร่วมมือในการดำเนินงาน
๔.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เด็ก ๐–5 ปี ได้แก่
๑.การเฝ้าระวังพัฒนาการตามวัยเด็ก ๐–5 ปี ๒.การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก๐–5 ปี ๓.การประเมินพัฒนาการเด็ก๐–5 ปี ๔.ความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก ๐–5 ปี   ๕. ตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก ๐–5 ปี ๖. ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐-5 ปี
2.เพื่อให้เด็ก ๐–5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ 3.เพื่อให้เด็ก ๐ – 5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ และได้รับการส่งต่อรักษาที่ถูกต้องในรายที่พบความผิดปกติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567 11:37 น.