กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการแพร่ระบาดโรคฉี่หนู(เลปโตสไปโรซีส)
รหัสโครงการ 67-L1485-1-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 15,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.กนกพร ส่องแสง ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งในพื้นที่เป็นพื้นที่ลุ่ม เป็นพื้นที่ เกษตรกร ปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ และ มีน้ำขังเป็นจำนวนมาก ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ โรคฉี่หนูมักจะมาช่วงฤดูฝน โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ แบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าว เนื่องจากต้องเดิน ย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่อง อย่างมาก คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลือง ตาเหลือเนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้
สถานการณ์โรคโรคฉี่หนู(เลปโตสไปโรซีส) ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะยังคงมีผู้ป่วยสูงขึ้นทุกปี โดยในปี 2566 พบผู้ป่วยจำนวน 11 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,009.17 ต่อแสนประชากร ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ จึงมีความห่วงใยสุขภาพ ประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการแพร่ระบาดโรคฉี่หนู(เลปโตสไปโรซีส)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคฉี่หนู(เลปโตสไปโรซีส) และการป้องกันตนเอง

 

2 ๒. เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคฉี่หนู(เลปโตสไปโรซีส)

 

3 ๓. เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญ สามารถดูแลตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัยจากโรคฉี่หนู

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงการฯ ๒.จัดทำโครงการฯ เสนอของบประมาณ ๓.ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่ เจ้าหน้าที่ และขอความร่วมมือในการดำเนินงาน
๔.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ -กิจกรรมอบรมให้ความรู้แกนนำ อสม. และแกนนำครอบครัว ในการดูแลป้องกันและเฝ้าระวังโรคฉี่หนู(เลปโตสไปโรซีส) ได้แก่ -สถานการณ์โรคฉี่หนู(เลปโตสไปโรซีส)ในชุมชน -สาเหตุการเกิดโรคฉี่หนู(เลปโตสไปโรซีส) -อาการแสดงของโรค -การติดต่อ -การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดในชุมชน -กิจกรรมถอดบทเรียน เพื่อหาสาเหตุปัจจัยการเกิดโรคฉี่หนู(เลปโตสไปโรซีส)ในพื้นที่ ๕. ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคฉี่หนู(เลปโตสไปโรซีส) และสามารถป้องกันตนเองได้ ๒. อัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคฉี่หนู(เลปโตสไปโรซีส)ลดลง ๓. ประชาชนเห็นความสำคัญ สามารถดูแลตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัยจากโรคฉี่หนูได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567 13:13 น.