กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
รหัสโครงการ 67-L1485-1-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2567
งบประมาณ 35,930.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกนกพร ส่องแสง ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลม ทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมี โดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น
ตำบลปะเหลียน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประชาชนมีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชผักทั้งที่ไว้บริโภคภายในครัวเรือนและเพื่อการค้าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องได้รับความรู้ เรื่องการดูแลป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพจากการประกอบอาชีพ อีกทั้งนี้ทางรัฐบาลและเครือข่ายต้านภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยังมีการผลักดันไม่ให้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำพวก พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต เป็นต้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการเกษตรกรปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช” ขึ้น เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การป้องกันตนเองจากความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน การตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด โดยกิจกรรมประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การสัมภาษณ์ด้วยแบบประเมินความเสี่ยง การตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด การให้คำแนะนำดูแลสุขภาพเกษตรกรในชุมชน โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียนสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมเจาะเลือดตรวจคัดกรองฯ ได้แก่ การจัดซื้อกระดาษทดสอบหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด การจัดซื้อสมุนไพรรางจืดสำเร็จรูป และการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืชได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพจากการประกอบอาชีพ

 

2 2. เพื่อให้เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืชมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

 

3 3. เพื่อให้เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางการดำเนินงาน
      1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ขั้นดำเนินการ
      2.1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาจากการใช้สารเคมีในเกษตรกร/ ภัยจากสารเคมี     กำจัดศัตรูพืชและส่งเสริมสุขภาพลดเสี่ยง   2.2 สัมภาษณ์เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช   2.3 เจาะเลือดตรวจคัดกรองผู้เสี่ยงต่อพิษสารกำจัดศัตรูพืช 2.4 สัมภาษณ์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางจิต   2.5 ให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช 2.6 จ่ายยาสมุนไพรให้กับผู้ที่มีภาวะเสี่ยง 2.7 ตรวจประเมินสุขภาพผู้ที่มีภาวะเสี่ยงซ้ำ
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรผู้ปลูกพืชได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพจากการประกอบอาชีพ
    1. เกษตรกรผู้ปลูกพืชมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
    2. เกษตรกรผู้ปลูกพืชที่ผลการตรวจเลือดผิดปกติ ได้รับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567 13:51 น.