กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชน อารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข งบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L8419-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มรักสุขภาพ หมู่ที่ 5
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอำไพ สมหวาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพสุขภาพของประชาชนบ้านยางงามพบว่าปัญหาสุขภาพ การมีดัชนีมวลกายสูง เช่น จำพวกเบาหวาน ความดัน ไขมัน ละเลยต่อการตรวจสุขภาพปัญหาสำคัญ คือ 1. บกพร่องความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง 2. ขาดแรงจูงใจและการสนับสนุนจากผู้นำชุมชน 3. ปัญหาในเรื่องอุปสรรคและวัฒนธรรมจึงต้องมีการเสริมสร้างพลังอำนาจในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นการให้ความรู้กับการดูแลสุขภาพร่วมกับการทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพในหมู่บ้าน องค์ประกอบพื้นฐานได้แก่ความเจ็บป่วยเรื้อรังป้องกันได้โดยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม การออกกำลังกายการพักผ่อนหย่อนใจเพื่อคลายเครียดการกินอาหารที่มีประโยชน์การตรวจโรคด้วยตนเองเป็นต้นการออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่นอารมณ์ดี ลดความตึงเครียดนอนหลับได้ดีและมีผลต่อสังคม คือ ช่วยให้มีสัมพันธภาพและมิตรไมตรีต่อกันมีความเอื้ออาทรต่อกันในชุมชนและประชาชนมีสุขภาพที่ดีและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมด้วยตนเองอย่างยั่งยืนจึงได้มีแนวคิดในการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพประชาชนที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการให้ความรู้ ส่งเสริมการตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพร่างกายของประชาชน
  1. ร้อยละ 60 ของประชากรในหมู่ 5 ที่เข้าร่วมโครงการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมประชาชนตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพและการป้องกันโรค
  1. ร้อยละ 60 ของประชากรหมู่ 5 เข้าร่วมโครงการ โดยการร่วมกันออกกำลังกายเดือนละ 1 ครั้ง
0.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

3.  อัตราการเจ็บป่วยลดลงหรือผู้เป็นไขมัน ความดัน เบาหวาน มีผลการตรวจอยู่ในระดับดี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,320.00 0 0.00
6 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 0 10,320.00 -
  1. เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ
  2. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเอกสาร
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. จัดอบรมตามโครงการแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
  6. บรรยายให้ความรู้ การควบคุมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อสุขภาพและจิตใจที่ดี
  7. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพและการจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่างๆ
  2. ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น
  3. ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 00:00 น.