กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการปฏิบัติการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน
รหัสโครงการ 67-L1485-1-30
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2567
งบประมาณ 21,018.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวบุณยวีร์ ชัยประสิทธิ์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วนเกิดได้บ่อยด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่นโรคหัวใจ การแพ้ยา การแพ้พิษ แมลงกัดต่อย ถูกไฟฟ้าดูด สำลักควันไฟ หรือจมน้ำ ผู้ป่วยเหล่านี้จะหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานเกิน 4 นาที แม้จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้ ก็จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวร ฉะนั้นปฏิบัติการช่วยชีวิตที่กระทำอย่างทันทีและถูกต้อง จะช่วยให้สมองไม่ขาดเลือดและสามารถกลับมาฟื้นเป็นปกติได้ เนื่องจากอุบัติการณ์เหล่านี้ มักเกิดนอกโรงพยาบาล เช่นที่บ้าน หรือที่ทำงาน ฉะนั้นการช่วยชีวิตอย่างทันท่วงทีนั้น จึงต้องเป็นการช่วยจากญาติมิตร คนใกล้ชิด หรือผู้ร่วมงาน ประชาชนทั่วไปที่อยู่ในสถานการณ์ ซึ่งบุคคลเหล่านั้นจำเป็นที่จะต้องสามารถทำการปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ เพื่อให้พ้นจากความพิการหรืออันตรายแก่ชีวิตก่อนนำส่งโรงพยาบาล การปฐมพยาบาลจึงเป็นสิ่งสำคัญ และสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เท่าที่มีอยู่ หรือจัดหาได้ในที่เกิดเหตุ การฝึกอบรม “การปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน” จึงมีความสำคัญ และ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน ที่อยู่ในสถานศึกษา เพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยให้พ้นจากอันตรายก่อนนำส่งโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงที จะต้องมีความรู้ความชำนาญในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ โดยเริ่มตั้งแต่การตรวจร่างกายเพื่อค้นหาการบาดเจ็บต่าง ๆ ที่จะเป็นอันตรายแก่ชีวิต และให้การช่วยเหลือที่เป็นลำดับตั้งแต่ขั้นรุนแรงที่สุดเป็นต้นไป ได้แก่ การกระตุ้นหัวใจและการผายปอด การห้ามเลือด การปฐมพยาบาลบาดแผลทุกชนิด การปฐมพยาบาลผู้ป่วยช็อกจากสาเหตุต่าง ๆ การปฐมพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารพิษ กระดูกหัก ภาวะฉุกเฉินทางจิต ตลอดจนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่แกนนำนักเรียนผู้ที่ปฏิบัติงานทุกคนเป็นอย่างมาก และการจัดอบรมเน้นการอบรมและฝึกปฏิบัติการการปฐมพยาบาลที่สอดคล้องตรงกับอุบัติเหตุที่พบบ่อย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับประโยชน์จากการอบรมอย่างสูงสุด อีกทั้งในเขตตำบลปะเหลียนตั้งอยู่ไกลห่างจากโรงพยาบาลแม่ข่าย (โรงพยาบาลปะเหลียน)ทำให้ใช้เวลาในการเดินทาง เพื่อนำส่งคนไข้หรือผู้ประสบภัยต่าง ๆ นาน รวมเวลาที่รถพยาบาลมาจากโรงพยาบาลปะเหลียนเพื่อรับและไปส่งยังโรงพยาบาลปะเหลียนรวมเวลาอยู่ที่ ๒๕- ๔๕นาที ซึ่งค่อนข้างนาน และมีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของผู้เจ็บป่วยมาก เมื่อมีการฝึกอบรมให้ความรู้ ฟื้นฟูการปฏิบัติการปฐมพยาบาลและการช่วยทางการแพทย์สำหรับแกนนำนักเรียน ในเขตตำบลปะเหลียนแล้ว ก็จะเป็นการลดระยะเวลาในการนำส่งผู้เจ็บป่วยไปยังโรงพยาบาลได้มาก ผู้เจ็บป่วยก็ลดภาวะคุกคามต่อสุขภาพและชีวิตลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐาน

 

2 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยให้พ้นจากอันตรายได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพก่อนนำส่งโรงพยาบาล เพื่อลดความรุนแรงของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น

 

3 3.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่บุคคลในครอบครัวและในชุมชนๆได้อย่างถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหารองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ๒. ประสานงานกับ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง
๓. แกนนำนักเรียน ครูหน่วยปฐมพยาบาล ๔. ดำเนินการตามโครงการ(อบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติในวันที่ 1 พฤษภาคม-31 สิงหาคม 2567) ๕. ดำเนินการซ้อมแผนอุบัติเหตุตามตารางการเรียนการสอนของวิทยากร ๖. ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ / ทักษะในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการช่วยฟื้นคืนชีพสามารถ       ปฏิบัติได้ถูกต้อง 2.กลุ่มเป้าหมายสามารถช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บได้อย่างถูกต้อง 3.จำนวนผู้ป่วยที่พิการซ้ำซ้อนลดลงจากอุบัติเหตุต่างๆ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2567 10:57 น.