กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ “สูงวัยอย่างมีคุณภาพ สุขภาพกาย สุขภาพใจ แข็งแรง” ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8419-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ร่วมพลังรักสุขภาพ หมู่1
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 16,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบูเลาะเฮง เจ๊ะเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าในปี2567 จะมีประชากรที่มี อายุตั้งแต่ 60 ปีอยู่ราว 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือ เมื่อประเทศใดมีประชากร อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป เกินร้อยละ ๑๐ หรือ ประชากรอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป เกินร้อยละ ๗ ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aging Society) ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี ๒๕๖๗ หรืออีก 2 ปีข้างหน้า เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม ภาคีเครือข่าย ตำบลดอน ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในหมู่ที่1 และจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุในตำบลดอน โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งที่ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุ ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุในตำบลมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และคุณภาพมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

1.ผู้สูงอายุในตำบลดอนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดี และมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ สามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ร้อยละ ผู้สูงอายุสามารถดูและรักษาสุขภาพตนเองเบื้องต้น และมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่แข็งแรง และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่าและมีความสุข

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,320.00 0 0.00
6 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 1.การบรรยายโครงการเด็กนักเรียนร่วมใจต้านภัยยาเสพติด 0 16,320.00 -
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลดอน
  2. คณะกรรมการหมู่ที่1 ร่วมประชุมปรึกษาเพื่อจัดทำแผนดำเนินงาน
  3. ประสานวิทยากร
  4. ขอใช้สถานที่จัดกิจกรรม
  5. ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายและเชิญเข้าร่วมโครงการ
  6. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ
  7. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ คณะกรรมการดำเนินการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น แก่กลุ่มผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้นำชุมชนในพื้นที่
  8. รายงานความเป็นมาของโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุฯ และผลการดำเนินงานคณะกรรมการผู้สูงอายุ
  9. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ “สูงวัยอย่างมีคุณภาพ สุขภาพกาย สุขภาพใจแข็งแรง”
  10. กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ “การการออกกำลังกายและการทำกายบริหารในผู้สูงอายุ”
  11. กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ “การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ”
  12. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น
  2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดี และมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี
  3. ผู้สูงอายุสามารถดูและรักษาสุขภาพตนเองเบื้องต้น และมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่แข็งแรง และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่าและมีความสุข ๔. ผู้สูงอายุสามารถเลือกการรับประทาน อาหารที่มีประโยชน์ให้เหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 00:00 น.