กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กอ้วน
รหัสโครงการ 67-L1485-1-32
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2567
งบประมาณ 18,390.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุรัญญา เอียดฤทธิ์ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาเรื่องพฤติกรรมการกิน และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบอันนำมาสู่โรคอ้วนและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นั้น ไม่ได้คุกคามเฉพาะผู้ใหญ่วัยทำงานเท่านั้น แต่ปัจจุบันปัญหาโรคอ้วนยังลามไปถึงวัยนักเรียนซึ่งถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้ปกครองควรใส่ใจและหันกลับมาแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกหลานกันอย่างจริงจัง ในอดีตคนทั่วไปมักคิดว่าเลี้ยงลูกให้อ้วนทำให้ดูน่ารักน่าเอ็นดูแต่ในทางการแพทย์เด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานถือว่ามีภาวะโรคอ้วน สำรวจสถานการณ์ปัญหาโรคอ้วนในนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วนและเริ่มอ้วน) ปี 2563 , 2564 , 2565 ดังนี้ ร้อยละ 20 ร้อยละ 23 ร้อยละ 54 ตามลำดับ พบว่าเด็กไทยที่เป็นโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งและโรคหัวใจเป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน ซึ่งมี ภารกิจโดยตรงในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนในเด็กนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กอ้วน ประจำปี 2567 เพื่อให้เด็กนักเรียนตระหนักเข้าใจถึงปัญหาสุขภาพจากโรคอ้วน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง การดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม สามารถนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและคนรอบข้างได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ.(อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย)

 

2 2. เพื่อสร้างความตระหนักการดูแลสุขภาพในกลุ่มเด็กอ้วน

 

3 3. เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังในกลุ่มเด็กอ้วน (เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง และไขมันในเส้นเลือดสูง)

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมแกนนำสุขภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องฯ และเครือข่าย เพื่อกำหนดแนวทางในการ ดำเนินการ
  2. เขียนโครงการฯ
  3. นำเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการฯ
  4. ดำเนินกิจกรรมโครงการฯ

- จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กอ้วน         -  จัดกิจกรรมการออกกำลังกาย   -  ส่งต่อนักเรียนที่มีความเสี่ยงสูงตามระบบบริการสาธารณสุข
5. ติดตาม สรุปผลการดำเนินโครงการ 6. ประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถปรับพฤติกรรมได้ดีขี้น ด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกายดีขึ้น ร้อยละ 80   2. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ร้อยละ 80
  3.มีนักเรียนต้นแบบด้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านอาหาร/ อารมณ์ / ออกกำลังกาย ร้อยละ 10

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2567 11:32 น.