กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมและรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 67-L1485-1-33
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2567
งบประมาณ 24,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรารัตน์ เดชอรัญ นักวิชาการสาธารณสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ของประเทศไทยและประเทศ ในแถบเอเชีย มาช้านาน เนื่องจากโรคนี้มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณที่มีแหล่งน้ำขัง มีแนวโน้ม การระบาดสูงในช่วงฤดูฝน และมีความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้ ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ ทำให้เกิด ผลเสียต่อทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เนื่องจากรัฐฯจะต้องเข้ามาบริหารจัดการ ทั้งในด้านการควบคุมป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลเมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้น ซึ่งในแต่ละปี ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณไปกับการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก
จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 ธันวาคม 2566 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 123,081 ราย อัตราป่วย 186.12 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 130 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.18 จังหวัดตรัง พบผู้ป่วยจำนวน 906 ราย อัตราป่วย 141.96 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 3 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.33 ในระดับอำเภอปะเหลียน มีผู้ป่วยจำนวน 393 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 620.88 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 1 ราย ตำบลที่อัตราป่วยสูงสุดคือตำบลทุ่งยาว รองลงมาคือตำบลปะเหลียน และรองลงมาคือตำบลบ้านนา ซึ่งเขตรับผิดชอบของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลปะเหลียนก็อยู่ในตำบลปะเหลียน จากข้อมูลในปี 2564 พบจำนวนผู้ป่วยจำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 53.14 ต่อแสนประชากร ปี 2565 พบผู้ป่วยจำนวน 3 รายคิดเป็นอัตราป่วย 78.98 ต่อแสนประชากร และปี 2566 พบผู้ป่วยจำนวน 40 รายคิดเป็นอัตราป่วย 1,054.01 ต่อแสนประชากร ซึ่งพบว่าอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงเกินค่า 50 ต่อแสนประชากรทุกปี และสูงกว่าในระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอเมื่อนำมาเทียบกัน และในปี 2566 พบผู้ป่วยใน Generration ที่ 2 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียนอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ประสบผลสำเร็จ และ เกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน ได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการประชาร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก ประจำปี 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกิดแกนนำชุมชนในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

2 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและกระตุ้นให้เห็นความสำคัญ มีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกัน โรคไข้เลือดออก

 

3 3. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 ประชุมชี้แจง เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียนเพื่อจัดทำโครงการ 1.2 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ
  2. ขั้นดำเนินการ
    2.1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่าย เพื่อรับทราบสถานการณ์โรคและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน 2.2 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ชุมชน เพื่อร่วมวางแผนดำเนินการ
    2.3 ประชาสัมพันธ์โครงการ แจ้งผู้นำชุมชน โรงเรียน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 2.4 อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัว และอสม. นักเรียน ให้ความรู้โรคไข้เลือดออก 2.5 กิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับแกนนำครอบครัว อสม. นักเรียน ทั้งในโรงเรียน และชุมชน
    2.6 แกนนำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอสม.ในเขตรับผิดชอบ
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีแกนนำสุขภาพ ในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
    1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
    2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบ ลดลง ≥ร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2567 11:41 น.