กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 3 ประสานสร้างหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3024-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลไม้แก่น
วันที่อนุมัติ 10 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซูมัยยา อาแวโกะ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.673place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ตั้งแต่ มกราคม – ตุลาคม 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกยอดสะสม 119,465 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 122 ราย ซึ่งมีการพบผู้ป่วยสูงสุดในรอบ 5 ปี และคาดการณ์ว่าปีนี้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดมากขึ้นตามวงจรของปีที่จะระบาด ซึ่งไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่มักพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝนผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยตลอดเวลา หน้าแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อาเจียน ซึม ถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้     ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดปัตตานี โดยพบผู้ป่วยตั้งแต่ 1 มกราคม – 15 ตุลาคม 2566 ทั้งหมด 1,424 ราย เสียชีวิต 2 ราย โดยพบผู้ป่วยกระจายอยู่ทั้ง 12 อำเภอ ของจังหวัดปัตตานี พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
          จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของศูนย์ระบาดวิทยาตั้งแต่ ปี 2563 – 2565 พบผู้ป่วย 0, 0 , 8 รายตามลำดับ ในปี 2566 ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 15 ตุลาคม 2566 พบผู้ป่วยในอำเภอไม้แก่นทั้งหมด 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 434.48 ต่อแสนประชากร โดยเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ร้อยละ 20 สามารถพบผู้ป่วยไม่เกินจำนวน 9 ราย ซึ่งเกินค่าที่กำหนดถึง 5 เท่า โดยพบผู้ป่วยกระจายใน 4 ตำบล ดังนี้ ตำบลไทรทอง 11 ราย , ตำบลดอนทราย 26 ราย , ตำบลตะโละไกรทอง 5 ราย และ ตำบลไม้แก่น 3 ราย พบในกลุ่มอาชีพนักเรียน , รับจ้าง , แม่บ้าน และค้าขาย จากสถานการณ์ของโรคพบแนวโน้มสูงขึ้น ทีมสอบเคลื่อนที่เร็วอำเภอไม้แก่นได้ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องซึ่งการป้องกันก่อนถึงฤดูระบาดจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้ทุกพื้นที่ช่วยกันลดจำนวนแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายที่มักอาศัยในภาชนะที่มีน้ำท่วมขัง การป้องกันการระบาดของโรคเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว การที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน การจัดสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด           เพื่อป้องกันการระบาดของโรคที่อาจจะเกิดต่อเนื่อง จึงต้องมีการดำเนินการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน โดยมีการประสานงานของสามส่วนที่สำคัญในการจัดกิจกรรมและการสนับสนุนให้ชุมชนสามารถเฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดออก อันได้แก่ ภาคราชการ คือ ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(CDCU) โรงพยาบาลไม้แก่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลไทรทอง และภาคประชาชน โดยมี อาสาสมัครสาธารณสุข เป็นแกนนำในการสำรวจลูกน้ำยุงลายสร้างความตื่นตัวมีความรับผิดชอบร่วมกันในการป้องกันและควบคุมการเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (CDCU) โรงพยาบาลไม้แก่น
จึงได้จัดทำ โครงการ 3 ประสานสร้างหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน ชุมชน เกิดความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย และวิธีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ เป็นการตัดวงจรพาหนะนำโรคไข้เลือดออกได้ดีที่สุดและเป็นการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคได้แบบยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 2. เพื่อลดอัตราป่วย/อัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก 3. เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกัน โรคไข้เลือดออก 4. เพื่อเป็นการรณรงค์และป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างทั่วถึง

1 ลดอัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก         2 ประชาชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล มีความร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายใน               ชุมชนและบ้านเรือนต่อเนื่อง         3 สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพ่ระบาดในชุมชน

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 ขั้นตอนการเตรียมการ         - ประชุมชี้แจง “โครงการ 3 ประสานสร้างหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ตำลไทรทอง อำเภอไม้แก่น         จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567 แก่อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่         2 ขั้นตอนการดำเนินการ         - จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างกระแส โดยใช้นักเรียน อาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ ร่วมกัน         รณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งพันธ์และแจกทรายอะเบทร่วมกับชุมชน
        - ประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย( ม.1, ม.2 ,ม.3, ม.4 และ ม.5 ) ตำบลไทรทอง การดำเนิน         การมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจากภาคประชาชน , อบต.ไทรทอง และ จนท.ทีมสอบสวนเคลื่อนที่         เร็ว (CDCU) โดยร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์การประเมิน         - สุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ 30 ของหลังคาเรือนแต่ละหมู่บ้าน สำรวจ 2 ครั้ง เพื่อหาค่า HI
        แล้วนำผลการสำรวจทั้ง 2 ครั้ง มาหาค่าเฉลี่ย และประเมินตามเกณฑ์การประกวดหมู่บ้านปลอด         ลูกน้ำยุงลาย         - ระหว่างดำเนินการต้องมีผู้ป่วยไม่เกินค่ามัธยฐาน ร้อยละ 20         - คัดเลือกหมู่บ้านที่มีค่า HI เฉลี่ยน้อยที่สุดและไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก นำมาจัดลำดับ 1,2,3
        - กรรมการร่วมกันสรุป และตัดสินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด         - มอบรางวัลเกียรติบัตรหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลายให้แก่หมู่บ้านที่ชนะ         3 ประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ลดอัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก     2 ประชาชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล มีความร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายใน         ชุมชนและบ้านเรือนต่อเนื่อง     3 สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพ่ระบาดในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2567 16:16 น.