กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste)
รหัสโครงการ 67-L5295-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2567
งบประมาณ 23,095.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจริญญา เอี้ยวซิโป
พี่เลี้ยงโครงการ นายบูสัน จันทร์เกลี้ยง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,99.817place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 177 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนที่เปลี่ยนไป การจัดการขยะที่ต้นทาง แนวคิด ขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste) เป็นแนวคิดในการส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้ทรัพยากรถูกใช้ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและลดขยะให้เหลือน้อยที่สุด โดยใช้หลักการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) รวมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากที่สุด เพื่อเป็นการลดปริมาณของเสียที่ต้องส่งไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบหรือเตาเผาให้มีปริมาณน้อยที่สุด หัวใจสำคัญของแนวคิด ขยะเหลือศูนย์ คือการจัดการขยะที่ต้นทาง เน้นการลดขยะ ณ แหล่งกำเนิด การใช้ซ้ำ การคัดแยกเพื่อนำกลับมารีไซเคิลก่อนนำไปกำจัด ซึ่งแตกต่างจากการจัดการขยะในปัจจุบันที่เน้นการกำจัดหรือจัดการขยะที่ปลายทางมากกว่าการแก้ไขที่ต้นทาง การลด แยกขยะ ให้มีประสิทธิภาพควรเริ่มจากต้นทางที่บ้านของตนเอง โดยสถานศึกษาต้องเป็นต้นแบบให้ความรู้ที่ถูกต้อง รวมถึงบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างวินัยในการลดการใช้ขยะ การคัดแยกขยะ การจัดการขยะที่ถูกต้องและมีความยั่งยืน     โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาขยะมูลฝอย จึงจัดทำโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste) ประจำปี ๒๕๖๗ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกการลด การคัดแยกขยะมูลฝอยและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในโรงเรียน โดยดำเนินการตามแนวคิด การจัดการขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste) ตามหลัก ๓Rs คือ Reduce หรือการลดปริมาณขยะ Reuse หรือการใช้ซ้ำ และ Recycle หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้โรงเรียนเกิดความสะอาด มีระเบียบวินัย โดยการจัดตั้งฐานการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ให้นักเรียนได้เรียนรู้แต่ละฐาน นักเรียนเกิดการเรียนรู้และเชื่อมโยงไปถึงชุมชนให้เข้ามามีสวนร่วมกับโรงเรียนอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดกรขยะมูลฝอย      ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐

90.00
2 เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเห็นความสำคัญและสามารถปฏิบัติในเรื่องการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้

ร้อยละ ๙๐ ของนักเรียน สามารถลดขยะ คัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อย่างถูกวิธี

90.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะทั่วไปในโรงเรียน

ปริมาณขยะทั่วไปที่ฝากไปกำจัดมีปริมาณลดลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 ให้ความรู้แก่นักเรียนและบุคลากร(1 มี.ค. 2567-30 เม.ย. 2567) 23,095.00                
รวม 23,095.00
1 ให้ความรู้แก่นักเรียนและบุคลากร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 192 23,095.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ฐานการเรียนรู้ 192 23,095.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้เรื่องการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
  2. ครู นักเรียน และบุคลากรโรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม ร้อยละ ๑๐๐ เข้าร่วมโครงการโรงเรียนปลอดขยะ
  3. ปริมาณขยะทั่วไปที่ฝากกำจัดมีปริมาณลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2567 14:12 น.