กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลมารดาและทารกหลังคลอด
รหัสโครงการ 67-L3361-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.(กลุ่มมารดาและทารกหลักคลอด)
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 1 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 13,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกรรณิกา เพชรสิงห์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,100.141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอด หมายถึง การส่งเสริม การฟื้นฟู การป้องกันและการรักษาสุขภาพของหญิงในระยะหลังคลอดเชื่อว่้าหญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลายอย่าง เช่นน้ำหนักตัว สริระร่างกาย หน้าท้องและผิวพรรณต่างๆทำให้หลังคลอดมารดามีอาการปวดเมื่อยหรืออักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณสันหลัง และต้นขา จึงมีการคิดวิธีบรรเทาอาการดังกว่า โดยอาศัยภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อฟื้นฟูร่างกายของมารดาหลังคลอด และปรับสมดุลในร่างกายให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว โดยใช้ความร้อน และสมุนไพรใกล้ตัวเป็นตัวช่วย   ปัจจุบันการปฏิบัติตัวหลังคลอดนิยมทำกัน มีหลายวิธี โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อออกจากโรงพยาบาลกลับมาดูแลตนที่บ้าน หญิงหลังคลอดจะรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบที่เชื่อว่าจะช่วยขับน้ำนม ขับน้ำคาวปลา การอาบน้ำต้มสุนไพรอุ่นๆ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายปรับสมดุลเกิดการกระตุ้นระบบขับถ่ายของเสียในร่างกาย การอบไอน้ำสมันไพรโดยประยุกต์อุปกรณ์ต่างๆให้เหมาะสม เกิดความสะดวกสบายเช่นทำเป็นกระโจมผ้า หรือไปอบตามร้านเสริมสวย การบีบนวดส่วนต่างๆที่มีอาการปวดเมื่อย การรับประมานยาสมุนไพรเพื่อขับคาวปลา บำรุงเลือด บำรุงร่างกาย รวมถึงการดูแผิวพรรณให้กลับมามีสภาพเหมือนก่อนตั้งครรภ์ จากข้อมูลการรับบริการของหญิงตั้งครรรภ์ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำปำ งบประมาณปี พ.ศ.2566 พบว่าหญิงมีครรภ์และคลอดบุตรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 27 ราย ชาวต่างชาติ 5 รายโดยมารดาหลังคลอดที่ปฏิเสธการรับบริการที่เหตุผลว่าไม่สะดวกต่อการเดินทางเข้ามารับบริการ หรือต้องใช้เวลานานในการเข้ารับบริการโดยต้องฝากบุตรที่เพิ่งคลอดไว้กับบุคคลในครอบครัวเป็นต้น ทั้งนี้การให้บริการในสนถานบริการและออกเยี่ยมบ้านโดยให้บริการดังนี้ การนวดหลังคลอดการนวดกระตุ้นในกรณีน้ำนมไหลน้อยและคัดตึงเต้านมตลอดจนให้ความรู้คำแนะนำเกียวกับการรับประทานอาหาร การปฏิบัติตัวและการทำกายภาพบริหารมารดาหลังคลอด   ปัจุบันการตั้งครรภ์มีมากขึ้นโดยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำปำ ปี 2566 มีมารดาหลังคลอด27 พม่า 5คนได้รับการเยี่ยมครบ3 ครั้ง จำนวน 27 รายคิดเป็นร้อยละ 100(งานแม่และเด็ก รพ.สต.ลำปำ)หญิงหลังคลอดยังขาดความรูู้ในการดูแลสุขภาพ การฟื้นฟูสภาพร่างกายให้เข้าสู้สภาพปกติได้โดยเร็ว เป็นเรื่องสำคัญตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารบำรุงสุขภาพ อาหารบำรุงน้ำนม เป็นต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อฟื้นฟูสรรถภาพมารดาหลังคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ลดอาการปวดท้องน้อย ลดปวดกล้ามเนื้อตามอวัยวะต่างๆและทำให้น้ำนมไหลสะดวกขึ้นให้มารดาคืนสู่สภาพปกติและแข็งแรงได้โดยเร็ว

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ร้อยละ 100 มารดาหลังคลอดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ(ม1,4,5,6,7,9,10)จำนวน 20 คนเข้าร่วมโครงการตัวชี้วัดเชิงคุณภาพร้อยละ 50 มารดาหลังคลอดเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูตัวชี้วัดเชิงความพึงพอใจ ร้อยละ 80 ของมารดาหลังคลอดที่เข้าร่วมโครงการพึงพอใจ

0.00
2 2.ส่งเสริมให้ทารกดื่มนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

ทารกดื่มนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน ร้อยละ 60 ของเป้าหมาย

3 3.มารกไม่เกิดภาวะเเทรกซ้อนหลังคลอด

3.ทารกไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 60

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67
1 1.กิจกรรมเยี่ยมกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน 20 คน(18 มี.ค. 2567-18 มี.ค. 2567) 0.00            
รวม 0.00
1 1.กิจกรรมเยี่ยมกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน 20 คน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มารดาหลังคลอดได้เข้ารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำปำ และออกเยี่ยมบ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบโดย อสม.(กลุ่มมารดาหลังคลอด) 2.มารดาหลังคลอดได้รับการฟื้นฟูและมีภาวะสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจโดยรวดเร็วไม่มีภาวะแทกซ้อนอันตรายหลลังคลอด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2567 15:03 น.