กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน (ศูนย์บริการสาธารณสุขฯ)
รหัสโครงการ 60-L7885-1-38
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 68,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนูรอาซีกีนอาคุณซาดา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเจริญเติบโตของเด็ก ถือเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญต่อสุขภาพโดยส่วนรวม นั่นคือ สติปัญญาพัฒนาการ และการเจ็บป่วย เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม (Intrauterine growth retardation) และเด็กที่มีภาวะตัวเตี้ย (Stuned child) โดยเฉพาะในช่วง ๓ ปีแรกของชีวิตเป็นผลให้เด็กเจ็บป่วยบ่อย หายช้า และรุนแรงถึงชีวิต ผลทางด้านการพัฒนาสมอง เด็กมีสติปัญญาต่ำ พัฒนาการล่าช้า ซึ่งแก้ไขได้ยาก สติปัญญาและพัฒนาการอาจเพิ่มขึ้นได้ แต่ไม่เท่ากับเด็กที่มีการเจริญเติบโตดี เมื่อเข้าโรงเรียนเด็กกลุ่มนี้จะมีโอกาสเรียนในระดับสูงได้น้อยเพราะความสามารถในการเรียนรู้ไม่ดี ภาวะโภชนาการที่ดีเป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิต โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเจริญเติบโตตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ๗๒ เดือน เนื่องจากการเจริญเติบโตมีทั้งด้านสมองและร่างกาย การเจริญเติบโตของเด็กจึงถือเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญต่อสุขภาพโดยรวม การขาดอาหารในเด็กมีผลเสียถึง ๔ ช่วงอายุ คือ ปัจจุบัน วัยเรียน วัยผู้ใหญ่และวัยชรา ตลอดจนผลต่อรุ่นลูกรุ่นหลานเป็นวงจรเช่นนี้ต่อกันไปเรื่อยๆ อาหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อสติปัญญาและสุขภาพรวมทั้งพัฒนาการของเด็ก เด็กที่กินอาหารครบ ๕ หมู่มีความหลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม เด็กจะมีการเจริญเติบโตดี ฉลาดเรียนรู้เร็ว สนใจต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผลทำให้พัฒนาการเด็กเหมาะสมตามวัย แต่ในทางตรงกันข้ามเด็กที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอ ย่อมมีผลทำให้พัฒนาการทางสมองไม่ดี เรียนรู้ช้าเป็นผลให้พัฒนาการไม่เหมาะสมตามวัย แม้เด็กจะได้รับการกระตุ้นพัฒนาการก็จะไม่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้หากยังไม่ได้รับการแก้ไขเรื่องการขาดอาหารของเด็กเสียก่อน
จากรายงานภาวะโภชนาการในเด็ก ๐ - ๗๒เดือน ในปีงบประมาณ๒๕๕๙พบว่ามีเด็ก ๐ - ๗๒ เดือน มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ ๓๘ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ประกอบกับผู้ปกครองเด็กยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการ และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องรวมทั้งผู้ปกครองมีบุตรมากทำให้ไม่มีเวลาดูแลบุตร ดังนั้นเทศบาลเมืองนราธิวาสจึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการของเด็ก ๐ - ๗๒เดือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาเด็กขาดสารอาหารรายใหม่ เพื่อติดตามและดูแลเด็กขาดสารอาหารทั้งรายใหม่และรายเก่าอย่างต่อเนื่อง

สามารถติดตามและดูแลเด็กขาดสารอาหารอย่างต่อเนื่อง

2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก สามารถจัดหาอาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับวัยให้แก่เด็กที่ขาดสารอาหารได้อย่างถูกต้อง

ผู้ปกครองเด็กมีความรู้เกี่ยวกับการจัดหาอาหารที่มีคุณค่าแก่เด็กที่ขาดสารอาหาร

3 เพื่อให้เด็กขาดสารอาหารมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เด็กขาดสารอาหารน้ำหนักขึ้นกว่าเดิม

4 เพื่อวิเคราะห์หาปัญหาและสาเหตุการขาดสารอาหารของเด็ก

สามารถทราบสาเหตุของการขาดสารอาหารเด็ก

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อค้นหาเด็กขาดสารอาหารรายใหม่ เพื่อติดตามและดูแลเด็กขาดสารอาหารทั้งรายใหม่และรายเก่าอย่างต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก สามารถจัดหาอาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับวัยให้แก่เด็กที่ขาดสารอาหารได้อย่างถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้เด็กขาดสารอาหารมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อวิเคราะห์หาปัญหาและสาเหตุการขาดสารอาหารของเด็ก

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑.จัดทำแผนงาน/โครงการ ๒.นำเสนอโครงการเพื่อพิจารณาขอรับการอนุมัติ ๓.ประชุมชี้แจง และเตรียมความพร้อมทีมงานในการดำเนินการ ๔.ประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองเด็ก ๕.ติดตามเด็กขาดสารอาหารในชุมชน โดยการประเมินภาวะโภชนาการ (ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง) โดยอสม. ๖.สาธิตอาหาร และแจกอาหารเสริมที่มีโปรตีนและพลังงานสูงเช่น นม ไข่ แก่ผู้ปกครองเด็ก และเด็กขาดสารอาหารในชุมชน ๗.ติดตามประเมินภาวะโภชนาการ (ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง) โดยอสม. ๗ครั้ง
๘.ประเมินผลโครงการ/สรุปและรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กขาดสารอาหารได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีภาวะโภชนาการเพิ่มขึ้น 2.ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการจัดหาอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมแก่เด็ก 3.เด็กขาดสารอาหารมีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยบ่อย 4.ผู้ปกครองเด็กและเจ้าหน้าที่ทราบถึงปัญหาที่ทำให้เด็กขาดสารอาหารและหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2559 10:24 น.