กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยรุ่นสดใส ต้านภัยโรคทางเพศสัมพันธ์ ป้องกันซึมเศร้าและอบายมุข
รหัสโครงการ l8401-67-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2567
งบประมาณ 10,735.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจุฑามาศ พุ่มมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.069,100.657place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถาณการณ์ปัจจุบันสถาบันครอบครัวซึ่งเป็นองค์กรหลักไม่ค่อยมีความเข้มแข็งในการดูแลบุตรหลานในปกครองเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจหลังโควิด-19ระบาดซึ่งมีผลต่อการประกอบอาชีพไม่มีเวลาดูแลครอบครัว รวมทั้งวัฒนธรรมตะวันตกทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าเช่นสื่อลามกในอินเตอร์เน็ตทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสมไม่ปลอดภัย โครงสร้างทางสังคมมีผลต่อคนและพฤติกรรมซึ่งพบว่าปัญหาในกลุ่มวัยเยาวชนมีหลายมิติและเกี่ยวเนื่องกันเช่นการตั้งครรภ์ไม่พร้อมไม่ปลอดภัย โรคทางเพศสัมพันธ์ อบายมุข ยาเสพติด ความรุนแรง ความเครียดซึมเศร้าและปัญหาสุขภาพจิตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆและไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพกายใจและส่งผลต่อประสิทธิภาพความคิดการตัดสินใจหากไม่มีช่องทางที่เป็นมิตรกับเยาวชนหรือแนวทางที่ถูกต้องปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขให้ทุเลาส่งผลให้เยาวชนเกิดท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อหน่าย รู้สึกคุณค่าตนเองลดลงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆเพิ่มขี้นรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย     ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาวได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและค้นหากลุ่มเสี่ยงและเป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการบริการกลุ่มเยาวชนจึงจัดทำโครงการวัยรุ่นสดใส ต้านภัยโรคทางเพศสัมพันธ์ ป้องกันซึมเศร้าและอบายมุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในเรื่องเพศที่ปลอดภัยป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์

 

2 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ทักษะและภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถาณการณ์ที่ไม่พึงประสงค์อย่างเหมาะสม

 

3 เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองและมีทักษะปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิตเรื่องเพศ

 

4 เพื่อให้บริการด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจเบื้องต้นเยาวชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 อบรมเยาวชน(23 ก.พ. 2567-30 ก.ย. 2567) 10,735.00                
รวม 10,735.00
1 อบรมเยาวชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 10,735.00 0 0.00
23 ก.พ. 67 ๑. ค่าอาหาร จำนวน ๑ มื้อ ๆ ละ ๕๐ บาท จำนวน 50 คน 0 2,500.00 -
23 ก.พ. 67 ๒. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน 50 คน 0 2,500.00 -
23 ก.พ. 67 ๓. ค่าป้ายไวนิล ขนาด ๑ x๓ เมตร จำนวน ๑ ป้าย 0 500.00 -
23 ก.พ. 67 ๔. ค่าเอกสารคู่มือการอบรม 50 ชุดๆละ 85 แผ่นๆละ 0.50 สตางค์ 0 2,125.00 -
23 ก.พ. 67 ๕.ค่าวิทยากรชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท จำนวน ๔ ชั่วโมง 0 2,400.00 -
23 ก.พ. 67 ๖. ค่าน้ำยาสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 1 ขวด 0 175.00 -
23 ก.พ. 67 7. สารละลายฟีนอฟทาลีน 100 ซีซี 1 ขวด 0 185.00 -
23 ก.พ. 67 8. กระบอกฉีดยา ขนาด 3 ml บรรจุ 50 ชิ้น กล่องละ 350 บาท 0 350.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.เยาวชนมีความรู้เรื่องเพศที่ปลอดภัยจากโรคทางเพศสัมพันธ์     ๒.เยาวชนมีความรู้ทักษะ.และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถาณการณ์ที่ไม่พึงประสงค์อย่างเหมาะสม     ๓.เยาวชนมีความภาคภูมิใจในตนเองและมีทักษะปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิตเรื่องเพศอารมณ์
    ซึมเศร้า อบายมุขและยาเสพติด     ๔.ได้รับการคัดกรองประเมิณสุขภาพกายและสุขภาพใจเบื้องต้น     ๕.เกิดเครือข่ายเพิ่มช่องทางสัมพันธ์ภาพในชุมชนกลุ่มเยาวชน เจ้าหน้าที่และผู้นำชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2567 14:05 น.