กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพครอบครัว ลดหวาน มัน เค็ม ม.1 บ้านอ่างทอง ปี 2567
รหัสโครงการ l8421-67-29
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 1 บ้านอ่างทอง
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสร้อย วิเชียรชัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.069,100.657place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ในปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ข้อมูลองค์การอนามัยโลกระบุประชากรทั่วโลกเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคนี้ ปี ๒๕๖๕
ร้อยละ ๖๐ ปี ๒๕๖๖ ร้อยละ ๖๓ และคนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคนี้ สูงกว่าทุกประเทศ ด้วยกระทรวงสาธารณสุข
โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหวัง และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รับผิดชอบงาน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านอ่างทอง เร่งดำเนินการงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเชิงรุก ในปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ประชากรหมู่ที่ ๒ จำนวน ๗๑๕ คน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 4๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๗๙ พบเป็นกลุ่มเสี่ยง จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๑๖ ไม่มีกลุ่มป่วยจากการคัดกรอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน โดยใช้หลัก ๓ อ. ๒ ส. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา ส่งผลต่อการดำรงชีวิต และการบริโภคอย่างถูกต้อง เช่น การลดหวาน มัน เค็ม เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพตนเอง ส่งเสริมและคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี ดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างถูกต้อง ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านยางงาม จึงจัดทำโครงการ “การสร้างเสริมสุขภาพครอบครัว ลด หวาน มัน เค็ม ม.1 บ้านอ่างทอง ปี ๒๕๖๗” ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาลดเสี่ยง ลดโรค ลดการเจ็บป่วย ลดการเสียชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

 

2 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปรู้จักการสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้อง โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ ๓ วัน วันละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการกินผัก ผลไม้หลากสี วันละอย่างน้อย ๕ ขีดขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัน) และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสียงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด

 

3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่า BMI หรือดัชนีมวลกาย เกิน spec ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้มีค่า BMI ลดลงร้อยละ ๑๐

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมที่ ๑ ทบทวนความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดเสี่ยง ลดโรคเรื้อรัง(23 ก.พ. 2567-30 ก.ย. 2567) 7,650.00                
2 กิจกรรมที่ 2 ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตเมื่อครบ ๓ เดือน(23 ก.พ. 2567-30 ก.ย. 2567) 1,600.00                
รวม 9,250.00
1 กิจกรรมที่ ๑ ทบทวนความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดเสี่ยง ลดโรคเรื้อรัง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 7,650.00 0 0.00
23 ก.พ. 67 - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด ๑.๒ เมตร x ๒ เมตร จำนวน 1 ป้าย 0 500.00 -
23 ก.พ. 67 - ค่าเครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 1 เครื่อง 0 3,150.00 -
23 ก.พ. 67 - ค่าสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวผู้เข้าร่วมโครงการ (คนใหม่) ราคาเล่มละ 35 บาท จำนวน 30 เล่ม 0 1,050.00 -
23 ก.พ. 67 - ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง/ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 1 คน 0 1,800.00 -
23 ก.พ. 67 - ค่าอาหารว่างผู้ร่วมโครงการ [ใหม่ 30 คน+เก่า 10 คน (ไม่มีโรคประจำตัว)] รวม จำนวน 40 คน จำนวน 1 มื้อ /มื้อละ 25 บาท จำนวน 40 คน 0 1,000.00 -
23 ก.พ. 67 - ค่าอาหารว่าง อสม.ผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้องรัง จำนวน 6 คน จำนวน 1 มื้อ /มื้อละ 25 บาท จำนวน 6 คน 0 150.00 -
2 กิจกรรมที่ 2 ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตเมื่อครบ ๓ เดือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 1,600.00 0 0.00
23 ก.พ. 67 - ค่าอาหารว่างผู้ร่วมโครงการ [ใหม่ 30 คน+เก่า 10 คน (ไม่มีโรคประจำตัว)] จำนวน 40 คน จำนวน 1 มื้อ /มื้อละ 25 บาท จำนวน 40 คน 0 1,000.00 -
23 ก.พ. 67 - ค่าอาหารว่างเช้า อสม.ผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้องรัง จำนวน 6 คน จำนวน 1 มื้อ /มื้อละ 25 บาท จำนวน 6 คน 0 150.00 -
23 ก.พ. 67 - ค่าอาหารกลางวัน อสม.ผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้องรัง จำนวน 6 คน จำนวน 1 มื้อ /มื้อละ 50 บาท จำนวน 6 คน 0 300.00 -
23 ก.พ. 67 - ค่าอาหารว่างบ่าย อสม.ผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้องรัง จำนวน 6 คน จำนวน 1 มื้อ /มื้อละ 25 บาท จำนวน 6 คน 0 150.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคอาหาร
    การออกกำลังกาย ที่ถูกต้อง
    1. ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รู้จักการสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้อง โดยการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ ๓ วันๆ ละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการกินผัก ผลไม้หลากสี วันละอย่างน้อย ๕ ขีดขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัม) และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความตันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งเป็นภัยเงียบจะปรากฏขึ้นในระยะสุดท้าย
    2. ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่า BMI หรือดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานก็จะปรับเปลี่ยนค่า BMI ลดลงร้อยละ ๑๐
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2567 19:44 น.