กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L7251-01-00
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสาวิตรี ชูแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.631,100.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมืองน่าอยู่ ในแนวคิดขององค์การอนามัยโลก คือ กระบวนการที่ทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสังคม และพร้อมที่จะร่วมกันสรรค์สร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต และในขณะเดียวกัน เมืองน่าอยู่ ก็คือเมืองที่มีการสร้างสรรค์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั้งด้านกายภาพและสังคมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการขยายแหล่งทรัพยากรชุมชน โดยให้ประชาชนในชุมชนนั้นมีส่วนร่วมและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต เพื่อให้ได้ศักยภาพหรือคุณภาพของชีวิตที่ดีที่สุด การรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น การจัดบ้านเรือนให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย การจัดขยะมูลฝอยการกำจัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล จะเป็นการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรคและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรคและทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรคติดต่อต่าง ๆ อีกทั้ง การสุขาภิบาลอาหาร การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอีกด้วย การจัดการสุขาภิบาลในชุมชน และการปรับปรุงอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้ชุมชนสะอาดน่าอยู่ จะส่งผลให้เกิดโรคระบาดต่าง ๆ ลดลงไปด้วย โดยเฉพาะการจัดการขยะ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและสัตว์ต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อหากได้รับการจัดการที่ถูกต้อง จะทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ น้อยลง โดยให้ประชาชนร่วมกันคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ตั้งแต่ในครัวเรือน ตั้งแต่ในครัวเรือน เพื่อช่วยลดขยะที่เข้าสู่ระบบการกำจัด ให้น้อยลง   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ จึงได้ให้ความสำคัญ ในการช่วยกันจัดการขยะ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอา่ด และร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชุมชน เป็นชุมชนสะอาดน่าอยู่ และป้องกันโรคติดต่อ ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคติดต่อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ และสามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเอง

 

2 เพื่อให้ประชาชน และชุมชนร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตนเอง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชน
  2. จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อของบประมาณ
  3. ดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน ดังนี้   3.1 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการรณรงค์ และทำความสะอาดชุมชน   3.2 ให้ความรู้กับอาสาสมัครสาธารณสุขในตำบล เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถไปประสานงานขอความร่วมมือ เผยแพร่ให้นำไปปฏิบัติได้   3.3 ประสานความร่วมมือในโรงเรียน ชุมชน และศาสนาสถาน เพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์   3.4 จัดกิจกรรมรณรงค์ร่วมมือกัน ระหว่าง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อปท. อสม. ผู้นำหมู่บ้านและแกนนำชุมชน โดยดำเนินการทุกหมู่บ้านในตำบลบ่อตรุ     - เดินรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับผลกระทบของการรทิ้งขยะมูลฝอยไม่เป็นที่     - เคาะประตู สะกิดใจ แนะนำวิธีการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ     - ทำความสะอาด (Big cleaning) ในชุมชน เก็บ คว่ำ แหล่งกำเนิดพาหนะนำโรค
  4. สรุปผลและติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกเห็นความสำคัญของผลกระทบที่เกิดจากการจัดการขยะ
  2. ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2567 10:06 น.