กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟันสวยยิ้มใส เด็กบ่อตรุฟันดี
รหัสโครงการ 67-L7251-01-00
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโรซีต้า หมัดสมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.631,100.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 624 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพในช่องปากของเด็กไทยเป็นปัญหาที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ โดยเฉพาะเด็กนักเรียนประถมศึกษา ซึ่งเป็นวัยของการวางรากฐานที่สำคัญของชีวิต ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจและพัฒนาการด้านอื่นๆ (พจนารถ พุ่มประกอบศรี, 2558) จากรายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า อัตราการเกิดโรคฟันผุของเด็ก 5 ปี และ 12 ปี มีอัตราผุสูงถึงร้อยละ 75.6 และ 58.7 ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดในฟันน้ำนม (dmft) และฟันแท้ (DMFT) เท่ากับ 4.5 และ 1.4 ซี่ต่อคน โดยภาคที่มีโรคฟันผุมากที่สุดคือภาคใต้ พบว่า เด็กอายุ 5 และ 12 ปี มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด ของฟันน้ำนม (dmft) และฟันแท้ (DMFT) เท่ากับ 5.1 และ 1.1 ซี่ต่อคน (สำหรับทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, 2561) นอกจากนี้ยังพบว่า ในเด็กอายุ 12 ปี มีสภาวะเหงือกอักเสบ ร้อยละ 66.3 มีปัญหาเลือดออกและหินน้ำลาย คิดเป็นร้อยละ 34.5 และ 31.8 ตามลำดับ (สำหรับทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, 2561)   ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุ ได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวาน ตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคในช่องปากที่สามารถป้องกันได้และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดีและการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค จะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้   จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ ปี พ.ศ. 2566 พบว่านักเรียนมีปัญหาสุขภาพช่องปาก 380 คน มีฟันแท้ผุ ต้องได้รับการอุดฟัน 69 คน ในรายที่ฟันแท้ผุ ต้องได้รับการถอนฟัน 30 คน และต่องได้รับการขูดหินปูน จำนวน 46 คน
  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการฟันสวยยิ้มใส เด็กบ่อตรุฟันดี เพื่อให้นักเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับบริการทางทันตกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง และส่งเสริม ป้องกัน รักษา สุขภาพช่องปากของนักเรียน มีการปรับวิธีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับปัญหาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองสภาวะสุขภาพช่องปากได้อย่างทั่วถึง

 

2 เพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทางทันตกรรม

 

3 เพื่อให้นักเรียนฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างต่อเนื่อง

 

4 เพื่อสร้างความตระหนักและเพิ่มศักยภาพให้แก่นักเรียนทั้งด้านความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากนักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 โดยทันตบุคลากร
  2. นัดนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากไปรับการรักษาที่รพ.สต.บ่อตรุ และโรงพยาบาลระโนด
  3. อบรมให้ความรู้ทันตสุขภาพและฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปาก สอนสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธี
  4. รณรงค์ให้มีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนในเขตพื้นที่ได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. นักเรียนชั้น ป.1 และ ป.6 ได้รับบริการทางทันตกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งในรายที่มีปัญหาไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  3. นักเรียนมีความรู้ และมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่เพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2567 10:55 น.