กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน
รหัสโครงการ 67-L7251-01-00
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสน
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปิยาภรณ์ แก้วรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.631,100.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่เริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรกและอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 3-5 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็ก ฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธีและมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวดเคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนมนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสียถูกถอนหรือหลุดไปก่อนหรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้น แทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อย ทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก   จากรายงานทันตกรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสน ปี 2566 พบว่า เด็กก่อนวัยเรียน 0-5 ปี มีจำนวนทั้งหมด 136 คน ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปาก จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 90.44 เด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุ จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 17.07 โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย เป็นปัญหาทันตะสุขภาพ ที่สำคัญของเด็กไทยก่อนวัยเรียนแม้ไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิต ไม่เป็นปัญหารุนแรงเฉียบพลัน แต่หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม อาจทำให้อาการของโรคลุกลาม จนทำให้เกิดการสูญเสียฟันในที่สุด ปัญหาสุขภาพช่องปากจะมีผลทำให้ สุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรง เนื่องจากการสูญเสียฟันจะมีผลต่อการบดเคี้ยวอาหาร อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาเช่น โรคกระเพาะอาหาร เนื่องจากเคี้ยวอาหารไม่ได้หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด เป็นต้น ดังนั้น โรคฟันผุจึงเป็นเหตุหลักของอาการเจ็บปวดและการสูญเสียฟันตั้งแต่วัยเด็ก   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสน ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากก่อนวัยเรียน โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษา การให้บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา ติดตาม ส่งต่อและประเมินผล เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในการดูแลทันตสุขภาพเด็กอย่างครอบคลุมในกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก 3-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับการดูแลช่องปากที่ถูกต้องจากผู้ปกครอง

 

2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 3-5 ปี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เทศบาลตำบลบ่อตรุ
  2. ประชุมชี้แจงให้คณะครูและผู้เกี่ยวข้องทราบถึงนโยบายการดำเนินงาน
  3. ประสานงานขอรับการสนับสนุนวิทยากร 4.จัดเตรียมเอกสาร
  4. การดำเนินงาน   5.1 ประสานงานถึงหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการให้ได้รับรู้ถึงนโยบายและแนวทางการจัดทำโครงการในครั้งนี้   5.2 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง เรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็ก 3-5 ปี   5.3 ให้ผู้ปกครองและเด็กฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี   5.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากด้วยการเคลือบฟูลออไรด์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 3.-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
  2. ผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 3-5 ปี ได้ถูกต้องและเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2567 11:37 น.