กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมปลุกพลังชุมชน “ลดพื้นที่สูบ เพิ่มพื้นที่สุข”
รหัสโครงการ 67-L2537-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมเยาวชนบ้านปูโป๊ะ
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 30,885.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูหามะฟาเอ๊ะ มะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2566 30 ก.ย. 2567 30,885.00
รวมงบประมาณ 30,885.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะนักเทคนิคการแพทย์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสำคัญ ในการรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ มุ่งให้มีการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากการงดบริโภคยาสูบหรือการหยุดสูบบุหรี่ จะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ ของสมาชิกในครอบครัว และของผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่มีสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยมาจากการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี “วันงดสูบบุหรี่โลก” (World No Tobacco Day) ขึ้นใน วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา องค์การอนามัยโลกได้มุ่งเน้นให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขทุกสาขาอาชีพ ร่วมมือกันก่อตั้ง “เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่” อันประกอบไปด้วย 7 สาขาวิชาชีพ ในระยะแรก ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด ซึ่งต่อมาเครือข่ายฯ ได้ขยายออกไปเป็น 17 วิชาชีพ ที่เพิ่มมาอีก 10 วิชาชีพ ได้แก่ หมออนามัย จิตวิทยาคลินิก แพทย์แผนจีน แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ รังสีเทคนิค เวชนิทัศน์ สัตวแพทย์ เวชศาสตร์การกีฬา และศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ โดยมีเป้าหมายในการร่วมมือกันรณรงค์ต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ จัดกิจกรรมควบคุมการบริโภคยาสูบ และรณรงค์การลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เพื่อให้การต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง ผลสัมฤทธิ์ และนำไปสู่เป้าหมาย “สังคมไทยปลอดบุหรี่” ได้ในที่สุด จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับเดือนละเกือบ 11,000 คน หรือวันละ 8 คน และในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด เช่น formaldehyde (สารเคมีที่ใช้ดองศพ) carbon monoxide (เช่นเดียวกับควันจากท่อไอเสียเครื่องยนต์) สาร acetone (สารเคมีที่ใช้ล้างเล็บ) ซึ่งสารเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุภาพทั้งต่อผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เป็นเด็ก ก็จะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทางโรคค่อนข้างต่ำ และยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใหญ่ได้ นอกจากนั้น งานวิจัยยังพบว่า ในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิต จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน และผู้ที่ติดบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เริ่มสูบและติดบุหรี่ ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยรุ่น ในช่วงอายุ 11-18 ปี โดยยังสูบต่อเนื่องไปจนอยู่ในวัยเยาวชน ในช่วงอายุ 19-25 ปี และผู้ใหญ่ตอนต้น ในช่วงอายุ 25-35 ปี ซึ่งกลุ่มเยาวชนบ้านปูโป๊ะ หมู่ที่4 ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ในฐานะที่มีความใกล้ชิดกับเยาวชนมากที่สุด ได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมจากการสำรวจประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ผ่านระบบข้อมูล TCNAP พบว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านปูโป๊ มีเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงต่อภัยของบุหรี่ประมาณ 89 ที่มีครอบครัวและคนใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่ กลุ่มเยาวชนบ้านปูโป๊ะ จึงได้จัดทำ “โครงการ ส่งเสริมปลุกพลังชุมชน “ลดพื้นที่สูบ เพิ่มพื้นที่สุข” เพื่อให้เด็ก เยาวชน ห่างไกลจากการสูบบุหรี่ และรณรงค์ให้ผู้ที่กำลังสูบ ลด ละ เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่นั้นเป็นอันตรายต่อผู้สูบบุหรี่และผู้ที่อยู่ใกล้กับผู้สูบบุหรี่ทั้งยังเป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่การติดสิ่งเสพติดอื่นๆได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชนร่วมถึงวัยทำงาน

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจเนื้อหาที่ได้อบรม

0.00
2 เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน

ร้อยละ 20 ผู้เข้าร่วมลดการได้รับควันบุหรี่มือสองลง

0.00
3 เพื่อสร้างจิตสำนึกในการรักสุขภาพและคนในครอบครัว

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมมีเวลาว่างในการกิจกรรมร่วมกัน และเห็นการเปลี่ยนแปลงของชุมชนนำไปสู่ความสงบสุขในชุมชนนั้นๆ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ธ.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ชุมชนปลอดบุหรี่ 0 395.00 -
1 ธ.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 สายใยรักครอบครัว คนสามวัย 0 11,500.00 -
1 ธ.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ครอบครัวต้นแบบเลิกบุหรี่ 0 10,240.00 -
1 ธ.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมเดินประชาสัมพันธ์การต่อต้านการสูบบุหรี่ 0 8,750.00 -
รวม 0 30,885.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดสภาพบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมรอบๆข้างเอื้อต่อการพูดคุย
  2. เยาวชนสามารถปรับแนวคิดทัศนะคติไปในระดับหนึ่ง
  3. เยาวชนเป็นต้นแบบชีวิตในด้านการพัฒนาเพิ่มขึ้น
  4. เกิดความรักสามัคคีในหมู่คณะ
  5. เกิดบุคคลต้นแบบที่สามารถเลิกบุหรี่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2567 00:00 น.