กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาวะนักเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง หน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว
รหัสโครงการ 67-L1481-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 8,030.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวปวีณา พิเชฐสินธุ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.354,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 4 – 16 ปี ที่อยู่ในความดูแลของหน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นสถานที่ที่นักเรียนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อโรคติดต่อสู่กันได้ง่าย เพราะนักเรียนเหล่านี้มีภูมิต้านทานต่ำจะเกิดอาการป่วยได้บ่อย โรคติดต่อที่พบบ่อยได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก ไวรัส RSV โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของนักเรียน การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ไวรัส RSV โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก อาจต้องปิดการเรียน ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ผู้ปกครองต้องหยุดงานเพื่อดูแลนักเรียนที่บ้าน ทำให้ขาดรายได้ จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรคในนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการเกิดโรคติดเชื้อเฉียบพลัน โรคมือ เท้า ปาก ไวรัส RSV โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออก แล้วยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
  หน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการส่งเสริมสุขภาวะนักเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง    หน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว” ขึ้น เพื่อให้ครู บุคลากร และผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจตลอดจนนำทักษะที่จำเป็นมาใช้ในการดำรงชีวิต และนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ป้องกันควบคุมโรคที่เกิดกับตัวนักเรียนได้อย่างถูกต้อง และสามารถควบคุมการแพร่กระจายโรคภายในหน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง นอกจากนี้ ยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาด ของโรคติดต่อใหม่ๆ และโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต   หน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะนักเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง หน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคมือเท้าปาก, โรคไวรัส RSV

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก, โรคไวรัส RSV

2 เพื่อให้ความรู้ ในการจัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกันโรค

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถจัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกันโรคได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา
  2. ประสานการจัดโครงการ/จัดหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
  3. ดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะนักเรียน ประกอบไปด้วยกิจกรรม 1 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กพิการ ครู พี่เลี้ยงประจำอำเภอ หน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว โดยมีช่วงเวลาเนื้อหาในการอบรม 2 เรื่อง ดังนี้ เวลา 09.00 น.– 12.00 น. (1) ให้ความรู้โรคมือ เท้า ปาก, โรคไวรัส RSV
    เวลา 13.00 น.– 16.00 น. (2) กิจกรรมจัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกันโรค
  4. ติดตามประเมินผลหลัง เข้าร่วมโครงการ
  5. สรุปผลโครงการ และรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กพิการ ครู พี่เลี้ยงประจำอำเภอ หน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว มีความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก, โรคไวรัส RSV และโรคไข้เลือดออก ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  2. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กพิการ ครู พี่เลี้ยงประจำอำเภอ หน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว ดูแลป้องกันตนเองและครอบครัวเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก, โรคไวรัส RSV ได้
  3. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กพิการ ครู พี่เลี้ยงประจำอำเภอ หน่วยบริการท่าพญา-ย่านตาขาว จัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกันโรคได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2567 14:47 น.