กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลนิคมพัฒนา
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 90,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลนิคมพัฒนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) คือมีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และอีก 9 ปีข้างหน้า ในปี 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับ สุดยอด (Super-Aged Society) มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่า 28% ของประชากรทั้งประเทศ อันเป็นผลมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งการที่ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศต้องมีรายจ่ายด้านสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ครอบครัวต้องแบกรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเองเมื่อมีอายุยืนยาวขึ้นก็ยิ่งต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพ รวมถึงความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ความพิการหรือทุพพลภาพ ประกอบกับปัจจุบันสังคมออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดน้อยลง สังคมก้มหน้าเริ่มเป็นภัยมืดที่น่ากลัวสำหรับสัมพันธภาพในครอบครัว ลูกหลานเริ่มให้เวลากับสมาร์ทโฟนมากกว่าการสนทนา ซึ่งกันและกัน ส่งผลให้เกิดช่องว่างทางความรู้สึกและบรรยากาศความเงียบในครอบครัวมีเพิ่มยิ่งขึ้น ผู้สูงอายุจึงแยกปลีกตัวมาอยู่ในมุมของตนเองตามลำพัง ยิ่งส่งผลให้ผู้สูงอายุว้าเหว่ ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิตแยกตัวออกจากสังคม มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง อาจ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดูแล ผู้สูงอายุได้แก่ บุคคลในครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น ที่ต้องเข้าใจให้ถึงก้นบิ้งความรู้สึกของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุเป็นบุคคลสำคัญที่สถาบันครอบครัวไทยให้การเคารพยกย่องอย่างสูง เพราะเป็น บุคคลที่ประสบการณ์ในชีวิตสูง เป็นผู้ถ่ายทอดความสามารถ ประเพณี วัฒนธรรมและค้ำจุนจิตใจ ให้แก่บุคคลในครอบครัว ชุมชน และสังคมได้อย่างต่อเนื่อง แต่ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยจะสูญเสียความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันความสามารถเสื่อมถอย ต้องอาศัยญาติและครอบครัวคอยดูแล ทำให้เป็นภาระผลกระทบต่อภาวะทุพพลภาพในผู้สูงอายุ เกิดจากขบวนการสูงวัยและโรคต่างๆมากมายทำให้เกิดปัญหา ทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต เศรษฐกิจ สังคม ปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว และปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง ถูกทอดทิ้งจากลูกหลาน เป็นกลุ่มประชาชนที่ใช้บริการสุขภาพสูงกว่าวัยอื่นๆ และจะต้องใช้จ่ายงบประมาณของประเทศในด้านการรักษาพยาบาล ผู้สูงอายุในพื้นที่ เขตตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล มีทั้งหมด 1,018 คน โดยแบ่งเป็นช่วงอายุ มีจำนวนผู้สูงอายุมี 60-69 ปีจำนวน 665 คน ,อายุ 70-79 ปีจำนวน 208 คน อายุ 80-89 ปี จำนวน114 คน และ อายุ 90 ปีขึ้นไป จำนวน 31 คน และจากผลการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (ADL) เพื่อแยกประเภทของกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า เป็น ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม (ช่วยเหลือตัวเองได้ดี ) จำนวน 992 คน คิดเป็นร้อยละ 97.45 กลุ่มติดบ้าน (ช่วยเหลือ ตัวเองได้บ้าง) จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 2.06 และกลุ่มติดเตียง จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 0.49 อย่างไรก็ตามทางพื้นที่และภาคีเครือข่าย บริหารจัดการการดูแลกลุ่มติดบ้านและติดเตียงด้วยระบบการดูแล ผู้สูงอายุระยะยาวและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการขับเคลื่อนของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะ พึ่งพิงตำบลนิคมพัฒนา ส่วนในกลุ่มติดสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็น ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ ประสบการณ์ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่น เพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่ากับชุมชน การรวมกลุ่มจัดกิจกรรมสำหรับสูงอายุ จึงไม่ได้เป็นแค่เพียงเพื่อการรวมกลุ่มพบปะพูดคุยกันเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต้องมีกิจกรรมที่หลากหลายตามความต้องการของ ผู้สูงอายุ และขยายกิจกรรมจากที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว ยังมีการพัฒนาต่อๆ ไป เพื่อยึดส่งเสริมสุขภาพและยึดระยะเวลาการเจ็บป่วย หรือการเกิดภาวะแทรกซ้อน ของผู้สูงอายุต่อไป ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึงพิงตำบลนิคมพัฒนาเล็งเห็นความสำคัญ ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุเป็นวัยที่ผ่านการทำงานมาเป็นเวลายาวนาน แต่เมื่อก้าวมาสู่วัยชรานั้นคือว่าเป็นภาระหน้าที่ของครอบครัวและชุมชน และประเทศชาติดังนั้นกลุ่มนี้ต้องได้รับการตอบแทนสนับสนุนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในด้านปัจจัย 4 รวมไปถึงการเตรียม ควาย่อนขอารอ และร้องสารคารอยู่ได้ยามีทยาพ ในการส่งเริ่นสุขภาพนเองน้นหรือ การสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มในผู้สูงอายุได้มีการพบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนความรู้ และช่วยเหลือกันใน ด้านสุขภาพอนามัย สันทนาการกับคนวัยเดียวกันตลอดจนการออกกำลังกายโดยใช้กิจกรรมต่างๆมาเป็นการเชื่อมคนในชุมชนให้สามารถดำรงอยู่ได้ในชุมชนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีคุณภาพที่เหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้เพิ่มความสามารถ และส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของผู้สูงอายุ 2 ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพตนเอง 3 เพื่อเสริมสร้างความมีคุณค่าในตนเอง ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุจากการเข้าร่วมกิจกรรมมีคุณภาพชีวิตที่ดี

1 ร้อยละ 90  ของผู้สูงอายุุ  เข้าร่วมอบรมตามเกณฑ์กิจกรรมกลุ่มทั้งหมด  2. ผู้สูงอายุมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ ได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม ร้อยละ 90 (ก่อน-หลังอบรม) 3. ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรม มีสุขภาพกายและจิตทีสมบูรณ์ แข็งแรง โดยวิธีสังเกตุและประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจง เสนอแผนโครงการแก่คณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะ พึ่งพิงตำบลนิคมพัฒนา ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง และเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. จัดเตรียมสถานที่ในการจัดอบรม
  3. จัดกิจกรรมการอบรมโดยรูปแบบหลักสูตรอบรมมีระยะเวลา 20 สัปดาห์ ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 20 สัปดาห์ ๆ ละ 3 ชั่วโมง มีทั้งหมด 9 กิจกรรมเรียนรู้หลัก ได้แก่ 3.1 โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 2 ครั้ง (6 ชม.) 3.2 ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของร่างกาย จำนวน 3 ครั้ง (9 ชม.) 3.3 การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน จำนวน 1 ครั้ง (3 ชม.) 3.4 การใช้ยาในผู้สูงอายุ จำนว่น 1 ครั้ง (3 ชม.) 3.5 ออกกำลังกายด้วยโนราบิกสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 4 ครั้ง (12 ชม.) 3.6 การป้องกันสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จำนวน 2 ครั้ง (6 ชม.) 3.7 นันทนาการกลองยาวเพื่อสุขภาพ จำนวน 3 ครั้ง (9 ชม.) 3.8 ความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 2 ครั้ง (6 ชม.) 3.9 ฝึกวิชาชีพตามความถนัด จำนวน 2 ครั้ง (6 ชม.)
  4. ติดตามประเมินผลการเรียนรู้ตามทักษะการอบรมและพฤติกรรมสุขภาพกายและจิต
  5. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 เกิดเครือข่ายผู้สูงอายุด้านต่างๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ลดอัตราการเกิดปัญหาด้านสุขภาพกายและใจของผู้สูงอายุทำให้มีสุขภาพแข็งแรง กระฉับกระเฉง ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย 8.2 ผู้สูงอายุได้คลายเหงา จิตใจกระชุ่มกระช่วย สดชื่น รู้สึกภาคภูมิใจ และตระหนักในคุณค่า และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกันและคนต่างวัย ได้รับการยอมรับในฐานะสมาชิกของกลุ่ม 8.3 เกิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ 8.4 ผู้สูงอายุเกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนแนวทาง วิธีการในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตจากกลุ่มอื่น ๆ ถ่ายทอดประสบการณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงสืบทอดเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม รวมทั้งอาจเป็นแรงผลักดันให้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2567 14:52 น.