กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนสุขภาพดี ด้วยวิถีการแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-50115-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 9,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเจ๊ะไซต๊ะ เจ๊ะนุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9,100.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 9,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
30.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ มีประชากรทั้งหมด 4,829 คน เพศชาย จำนวน 2,376 คน เพศหญิง 2,453 คน มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 1,066 และมีจำนวนจำนวนประชากรช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไปจำนวน 2,476 คน สถิติการเจ็บป่วยของประชาชน ที่รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ โดยจำแนกผู้ป่วยนอกตามสาเหตุการป่วย 21 กลุ่มโรค พบว่า 3 อันดับแรกโรคที่เป็นสาเหตุการป่วยมากที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, และไขมันในเลือดผิดปกติ ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ มีจำนวนมาก และยังพบว่า ผู้ป่วยเหล่านี้ มีปริมาณสำหรับการรักษาโรคเรื้อรังในปริมาณมากเช่นกัน อีกทั้งยังมีการดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกต้องจึงส่งผลให้พบภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา หากประชาชนได้รับการส่งเสริม ป้องกัน ดูแลสุขภาพตนเองตั้งเเต่เบื้องต้นก่อนเกิดปัญหาสุขภาพ โดยการส่งเสริมให้ประชาชนมีองค์ความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองจนสามารถนำกลับไปปฏิบัติที่บ้าน แนะนำคนในครอบครัวและคนใกล้ชิด ให้ทราบถึงวิธีการดูแลสุขภาพด้วยวิธีการง่ายๆ ด้วยวิธีทางการแพทย์แผนไทย เช่น การออกกำลังกาย การบริหารร่างกาย ตลอดจนการใช้ยาสมุนไพรในการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งวิธีการต่างๆเหล่านี้ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถเรียนรู้ได้ง่าย บางพื้นที่มีองความรู้เหล่านี้อยู่ในชุมชนอยู่แล้ว เพียงแต่ยังขาดวิธีการ หลักการที่ถูกต้อง และไม่ได้รับคำแนะนำที่ดี จึงไม่กล้าที่จะนำเอาความรู้เหล่านี้มาดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้นั่นเอง โครงการชุมชนสุขภาพดี ด้วยวิธีแพทย์แผนไทย เป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะตอบโจทย์ ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนในมิติการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการใช้องค์ความรู้เดิมในการดูแลสุขภาพ ซึ่งกลุ่มงานการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ มีแพทย์แผนไทยผู้ปฏิบัติงาน ที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประเภท ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ การออกตรวจสุขภาพและให้บริการด้านสุขภาพของผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จะส่งผลดีให้กลุ่มเป้าหมาย ในสร้างคุณภาพชีวิต ให้มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่แข็งแรงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

30.00 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

30.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,100.00 0 0.00
1 มิ.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 อบรมโครงการชุมชนสุขภาพดี ด้วยวิถีการแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2567 0 9,100.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง รู้จักวิธีการเตรียมตัว และวิธีป้องกันโรคก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
  2. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การใช้สมุนไพรในการดูแลตนเอง
  3. เกิดการขับเคลื่อนภูมิปัญญาในท้องถิ่น พัฒนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2567 15:06 น.