กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาอาหารปลอดภัย ห่างไกลโรค
รหัสโครงการ L7250-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2024
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2024 - 30 กันยายน 2024
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2024
งบประมาณ 161,215.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุทิน หลำหม๊ะ นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.194583,100.601667place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่นิยมประกอบอาหารเพื่อบริโภคเอง โดยเปลี่ยนเป็นนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านหรืออาหารปรุงสำเร็จ สถานที่จำหน่ายอาหารจึงมีผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพประชาชน จากสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญสำหรับประเทศไทย ในแต่ละปีมีรายงานผู้ป่วยตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่มีการระบาดเป็นวงกว้างทำให้มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก และอาการของโรคอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ไตวาย หรือถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ซึ่งโรคติดต่อทางอาหารและน้ำที่เป็นปัญหาสำคัญที่ควรเร่งรัดดำเนินการได้แก่ โรคอาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน และโรคไวรัสตับอักเสบ เอ ซึ่งโรคอาหารเป็นพิษมีอัตราป่วยอยู่ใน 10 อันดับแรกของโรคที่อยู่ในระบบเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา จากสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ.2555 – 2559) พบว่า อัตราป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษต่อประชากรแสนราย เท่ากับ 187.78, 205.51, 209.61, 199.06 และ 211.83 ตามลำดับและผู้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษปี 2555 มีจำนวน 119,392 เพิ่มขึ้นเป็น 138,595 รายในปี 2559 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษที่มีเพิ่มขึ้น โดยโรคอาหารเป็นพิษสามารถพบได้ตลอดทั้งปี สาเหตุมักเกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค (แบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิ) สารพิษที่เชื้อสร้างขึ้นในอาหาร สารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้นในร่างกายภายหลังจากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป หรือสารพิษจากสิ่งอื่น ๆ หรือปนเปื้อนภายหลังจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของสุขอนามัยส่วนบุคคล ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวสามารถแพร่เชื้อได้ทางอุจจาระ และหากเป็นผู้ประกอบอาหาร หรือพนักงานเสิร์ฟอาหารจะมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้มาก
สำหรับสถานการณ์โรคอุจจาระร่วงจังหวัดสงขลา 1 ม.ค. – 15 ก.พ.66 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาได้รับรายงานโรคอุจจาระร่วง (Acute Diamhoea) จำนวนทั้งสิ้น 2,824 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 197.27 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 0 – 4 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 703.02 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน รองลงมาคือกลุ่ม 5 – 9 ปี, 25 – 34 ปี ตามลำดับ อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรหนึ่งแสนคนสูงสุดคืออำเภอบางกล่ำ อัตราป่วยเท่ากับ 291.00 ต่อประชากรแสนคน รงลงมาคืออำเภอสะเดา, อำเภอระโนดตามลำดับ ส่วนสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษจังหวัดสงขลา ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) จำนวนทั้งสิ้น 184 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 12.85 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือแรกเกิด – 4 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 36.8 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5 – 9 ปี, 10 – 14 ปี ตามลำดับ อำเภอที่มีผู้ป่วยสูงสุดคืออำเภอสะบ้าย้อย รองลงมาคืออำเภอนาหม่อม และอำเภอเมืองสงขลา ตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา)

ดังนั้น เพื่อลดป่วยที่เกิดจากโรคอุจจาระร่วง และโรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) ในแหล่งท่องเที่ยวภายในเขตเทศบาลนครสงขลา งานสุขาภิบาลฯ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาอาหารปลอดภัย ห่างไกลโรค ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันการป่วยที่เกิดจากโรคอุจจาระร่วง และโรคอาหารเป็นพิษ ในแหล่งท่องเที่ยว

1.ร้อยละ 90  ของผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้ช่วยจำหน่ายในเขตเทศบาลนครสงขลา ผ่านกาตรวจประเมินทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และการปนเปื้อนจากสารเคมี

90.00
2 2.ส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพ ของผู้ประกิบด้านอาหารและผู้ช่วยจำหน่ายอาหารรวมถึงนักท่องเที่ยงและประชาชนทั่วไปที่ใช้บริการสถานประกอบการจำหน่ายอาหารให้มีความรู้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

2.ผู้ประกอบการด้านอาหารผ่านการทดสอบหลังการอบรม ร้อยละ 90

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ประกอบการด้านอาหาร และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบติงาน(1 มี.ค. 2024-30 ก.ย. 2024) 104,839.00              
2 กิจกรรมตรวจแนะนำผู้ประกอบกิจการแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 500 ราย ตามแบบตรวจแนะนำกรมอนามัย กระทรางสาธารณสุข(1 มี.ค. 2024-30 ก.ย. 2024) 1,250.00              
3 กิจกรรมจัดเก็ยตัวอย่างอาหารเพื่อหาสารปนเปื้อนในอาหาร รวมถึงสารปนเปื้อนที่เป็นเหตุให้เกิดโรคอุจจาระร่วง และโรคอาหารเป็นพิษ(1 มี.ค. 2024-30 ก.ย. 2024) 55,126.00              
รวม 161,215.00
1 กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ประกอบการด้านอาหาร และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบติงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 720 104,839.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 110 33,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารกลางวัน 110 33,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าตอบแทนวิทยากร 0 18,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าจัดทำคู่มือหลักการสุขาภิบาลอาหาร 500 12,500.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่ากระดาษ A4 0 1,500.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าชุดทดสอบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร Si-2 0 950.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย Si-2 0 2,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าตัวอย่างเพื่อทดสอบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร 0 1,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าชุดทดสอบสารบอแรกซ์ในอาหาร 0 214.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าชุดทดสอบกรดซาริซิลิค (สารกันรา) 0 240.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (สารฟอกขาว) 0 185.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าชุดทดสอบฟอร์มาลินในอาหาร 0 250.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าวัสดุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 0 2,000.00 -
2 กิจกรรมตรวจแนะนำผู้ประกอบกิจการแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 500 ราย ตามแบบตรวจแนะนำกรมอนามัย กระทรางสาธารณสุข กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 1,250.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่ากระดาษถ่ายเอกสาร A4 0 700.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าคลิปบอร์ดพลาสติก A4 0 550.00 -
3 กิจกรรมจัดเก็ยตัวอย่างอาหารเพื่อหาสารปนเปื้อนในอาหาร รวมถึงสารปนเปื้อนที่เป็นเหตุให้เกิดโรคอุจจาระร่วง และโรคอาหารเป็นพิษ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 55,126.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 10 3,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าชุดทดสอบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร Si-2 0 22,800.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย Si-2 (เฉพาะอุปกรณ์) 0 2,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าชุดทดสอบสารบอแรกซ์ในอาหาร 0 1,926.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าชุดทดสอบกรดซาริซิลิค (สารกันรา) 0 2,160.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (สารฟอกขาว) 0 740.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าชุดทดสอบฟอร์มาลินในอาหาร 0 22,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ประกอบการด้านอาหารมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากโรคอาหารและน้ำเป็นสื่อ เช่น โรคอุจจาระร่วง และโรคอาหารเป็นพิษ รวมถึงอาหารที่จำหน่ายมีความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนในอาหาร เพื่ออาหารปลอดภัย นักท่องเที่ยวสุขใจ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2024 15:13 น.