กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนิคมพัฒนา
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 15 ตุลาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 43,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนิคมพัฒนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 123 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ยุคปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหนก็สามารถเข้าแหล่งเรียนรู้ หรือหาความรู้เพิ่มเติมได้ผ่านเทคโนโลยีที่เราเรียนว่าออนไลน์ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าสื่อนั้นจะเลือกใช้เทคโนโลยีอะไรให้เหมาะกับคอนเทนต์หรือเนื้อหาในการนำเสนอ เพื่อให้ผู้เรียนได้ความรู้ และเพลิดเพลิน ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ อนิเมชั่น วีดีโอ AI AR VR ด้วยสถานการณ์ที่ถูกบีบบังคับ ด้วยโรค covid-19 ถือเป็นโอกาสที่เหมาะสมที่ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนได้รีบเร่งในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการและเข้าถึงข้อมูลบุคคลได้มากที่สุด และทำให้ทุกคนในชาติได้ตื่นตัวและเกิดการปรับตัวไปพร้อมๆกัน ทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น เด็ก นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ผู้ใหญ่ คนชรา คนพิการ ต่างหลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ รับรู้ข่าวสารต่างๆและผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน ซึ่งจะสังเกตได้จากทุกภาคส่วนไม่จะเป็นภาครัฐ เอกชน หรือภาคการศึกษา ที่ต้องออกมาใช้เทคโนโลยีออนไลน์ให้มีการเข้าถึงกลุ่มคนในสังกัดของตัวเองให้ได้มากที่สุดและดีที่สุด
กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิด้วยโครงการ 3 หมอ ให้คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน ซึ่งแกนนำสุขภาพมีความใกล้ชิดกับประชาชนและชุมชนมากที่สุด จึงต้องมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพื่อสามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สร้างความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพให้แกประชาชน และทำให้ประชาชนเกิดความสนใจ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนิคมพัฒนา เห็นความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว      จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล เพื่อให้แกนนำสุขภาพได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างเต็มรูปแบบ รู้เท่าทันเทคโนโลยี    เป็นการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้แกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดูแลสุขภาพประชาชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 2. เพื่อให้แกนนำสุขภาพสามารถใช้แอพพลิเคชั่นในการส่งต่อความรู้และข้อมูลด้านสุขภาพให้แก่ประชาชน 3. เพื่อให้แกนนำสุขภาพสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
  1. แกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ร้อยละ 80
  2. แกนนำสุขภาพสามารถใช้แอพพลิเคชั่นในการส่งต่อข้อมูลได้ ร้อยละ 50
  3. แกนนำสุขภาพสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจง เพื่อพิจารณาจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ตำบลนิคมพัฒนา  อำเภอมะนัง จังหวัดสตูลเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
    1. จัดเตรียมสถานที่ในการจัดอบรม
    2. ดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกิจกรรมดังนี้ 3.1 กิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพเรื่องการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ.2ส. และการใช้แอพพลิเคชั่นในการส่งต่อข้อมูลเพื่อสุขภาพ จำนวน 123 คน 2 รุ่นๆละ 2 วัน ดังนี้
    • รุ่นที่ 1 จำนวน 81 คน
    • รุ่นที่ 2 จำนวน 42 คน 3.2. กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ.2 ส. จำนวน 123 คน ดังนี้
    • แกนนำสุขภาพ จำนวน  123 คน
    1. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1. แกนนำสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดูแลสุขภาพประชาชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 8.2. แกนนำสุขภาพสามารถใช้แอพพลิเคชั่นในการส่งต่อความรู้และข้อมูลด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนได้ 8.3. แกนนำสุขภาพสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2567 09:39 น.