กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิตและหนูน้อยอัจฉริยะและแสนดี ตำบลนิคมพัฒนา ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต ตำบลนิคมพัฒนา
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 54,585.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองทุนมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต ตำบลนิคมพัฒนา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวิตรี อนันตะพงษ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดมาแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมเพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
พื้นที่ตำบลนิคมพัฒนาได้มีการดำเนินการโครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน แรกแห่งชีวิต
เริ่มเปิดตัวโครงการครั้งแรก ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 รวมระยะเวลา 3 ปีกว่า แล้วนั้น มีเด็กมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต เกิดขึ้นมาแล้วจำนวน 130 คน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายในโครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน แรกแห่งชีวิต ได้แก่ กิจกรรมการค้นหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ให้ได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและยาโฟลิก 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ ,กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และเด็ก ได้รับการดูแลแบบองค์รวมจากทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) , การดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพ ดูแลโภชนาการหญิงตั้งครรภ์อย่างเข้มข้น สนับสนุนนมจืด และไข่ (บางรายที่มีปัญหาโภชนาการและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จ่ายให้ตลอดการตั้งครรภ์จนคลอด) เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังทารกคลอดน้ำหนัก ≤ 2,500 กรัม ซึ่งข้อมูลผลการดำเนินงานจาก ระบบ HDC กระทรวงสาธารณสุข ในปีงบประมาณ 2565 อัตราทารกคลอดน้ำหนัก ≤ 2,500 กรัม ร้อยละ 14.81 และในปีงบประมาณ 2566 ร้อยละ 10.53 ,การทำกิจกรรมกลุ่มโรงเรียนพ่อแม่ จิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ เพื่อเพิ่มความรอบรู้ในการสร้างลูกให้ฉลาดและอารมณ์ดี ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ รวมถึงกิจกรรมกระบวนการ กิน กอด เล่า ในเด็กแรกเกิด ถึง 2 ปี โดยการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการจากทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) ตำบลนิคมพัฒนา ซึ่งเป็นทีมคณะกรรมการชุดขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต ที่เป็นเครือข่ายจากทุกภาคส่วน ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการที่จำเป็นให้แก่กลุ่มเป้าหมายตามโครงการมาอย่างต่อเนื่อง และกิจกรรมเพื่อดูแลเด็กอายุ 2 ถึง 6 ปี คือกิจกรรมโครงการหนูน้อยอัจฉริยะและแสนดี ผ่านกระบวนการ กอด เล่า เล่น เต้น วาด สร้างสมาธิ ซึ่งจะดำเนินการในกลุ่มผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยใช้โปรแกรมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของกรมสุขภาพจิต (The Thai Triple-P) โดยตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา ได้ดำเนินการไปแล้วใน ศพด.บ้านผัง 18 และ ศพด.บ้านผัง 117 ในส่วนของ ศพด. อบต.นิคมพัฒนา ยังไม่ได้ดำเนินการ
  ข้อมูลข้างต้น กองทุนมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต ตำบลนิคมพัฒนา นำโดยคณะกรรมการทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) ตำบลนิคมพัฒนา มีการประชุมเพื่อร่วมวิเคราะห์สภาพปัญหา และสรุปปัญหาที่สำคัญและควรเร่งแก้ไขคือในเรื่องการป้องกันทารกคลอดน้ำหนัก≤ 2,500 กรัม เพราะหากทารกคลอดน้ำหนักน้อยจะส่งผลให้ทารกมีโอกาสเกิดความพิการ บางรายจะมีพัฒนาการล่าช้า
ซึ่งทารกรายนั้นมีความพิการ ครอบครัวและภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและดูแล รักษาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 - 5 ปี จากผลการดำเนินการที่ผ่านมา การสนับสนุนนมจืดและไข่ เป็นประโยชน์และสามารถแก้ไขปัญหาโภชนาการในแม่และเด็กได้จริงตามหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ และในส่วนของกิจกรรมต่อเนื่องการมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก ก็มีความสำคัญและควรเร่งมือในการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อการดูแลเด็กปฐมวัยที่ครอบคลุมและต่อเนื่อง ในส่วนของกิจกรรมอื่นๆ ทางทีม CFT ตำบลนิคมพัฒนา ได้รับการสนับสนุนบุคลากร และการจัดสรรงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง   กองทุนมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล จึงมีแนวคิดในการจัดทำโครงการมหัศจรรย์1000 วันแรกแห่งชีวิตและหนูน้อยอัจฉริยะและแสนดี ตำบลนิคมพัฒนา ปี 2567 เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องในการช่วยกันแก้ไขปัญหาและเฝ้าระวังเรื่องโภชนาการ เพราะเด็กที่กำลังจะลืมตาดูโลก และกระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัวตะหนักถึงความสำคัญของการเอาใจใส่ดูแลสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัยรวมทั้งการสร้างความผูกพันระหว่างเด็ก ครอบครัวและชุมชน เพราะเด็กปฐมวัยกลุ่มนี้ คืออนาคตของชุมชน และประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กิจกรรมที่ 1 : เฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม 1 .เพื่อสนับสนุนนมจืดและไข่ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ 2. เพื่อเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ ส่งเสริมให้ทารกคลอดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม กิจกรรมที่ 2 : อบรมทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยจามโปรแกรม (The Thai Triple-P) 1.เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญของการเอาใจใส่เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยรวมทั้งการสร้างความผูกพันระหว่างเด็ก ครอบครัวและชุมชน 2.เพื่อให้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยมีทักษะที่เหมาะสม ในการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย

กิจกรรมที่  1 : เฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับนมจืดและไข่ ร้อยละ 100 2. จำนวนทารกที่กลุ่มเป้าหมาย คลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 หรือลดลงจากเดิมร้อยละ 10 ขึ้นไป กิจกรรมที่ 2 : อบรมทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยจามโปรแกรม (The Thai Triple-P)  1.ผู้ปกครอง/ผู้ดูแล เด็กปฐมวัย เข้าร่วมกิจกรรมอบรม ครบทั้ง 4 ครั้ง จำนวน 12 คน ร้อยละ 80 2.ทักษะการเลี้ยงดูเด็กอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น ร้อยละ 80 (ประเมินเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม(1 มี.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 52,200.00                
2 กิจกรรมอบรมทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามโปรแกรม The Thai Triple-P(1 มี.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 2,385.00                
รวม 54,585.00
1 กิจกรรมเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 52,200.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม 40 52,200.00 -
2 กิจกรรมอบรมทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามโปรแกรม The Thai Triple-P กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 2,385.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามโปรแกรม The Thai Triple-P 15 2,385.00 -

1 ประชุมชี้แจง เสนอแผนงานโครงการคณะกรรมการทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว เพื่อหาข้อสรุปในการดำเนินการและมติ และเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ กิจกรรมที่ 1 : เฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม 2 จัดหา/ซื้อนมจืดและไข่ เพื่อสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ 3 ประเมินติดตามโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์รายไตรมาส พร้อมทั้งจัดทำทะเบียนติดตามการ ดื่มนมและทานไข่ พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องโภชนาการที่เหมาะสมขณะตั้งครรภ์
4 สนับสนุนนมจืดและไข่ ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ โดยแนะนำให้ดื่นนมจืด วันละ ไม่เกิน 2 กล่องเพื่อคุณภาพในเรื่องโภชนาการของทารกในครรภ์ และป้องกันผลข้างเคียงจากการได้รับแคลเซียมและสารอาหารอื่นๆ จากนมจืด ที่อาจส่งผลต่อหญิงตั้งครรภ์ได้ เช่นภาวะกระดูกพรุน น้ำตาลในเลือดสูง และภาวะภูมิแพ้ในทารก เป็นต้น กิจกรรมที่ 2 : อบรมทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยจามโปรแกรม Thai Triple-P 5 ประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมกิจกรรมแก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย 6 จัดเตรียมอุปกรณ์และสื่อต่าง ๆ
7 ประเมินพัฒนาการเด็ก และประเมินทักษะการเลี้ยงดูเด็กทั้งเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ ในกลุ่มผู้ปกครอง/ผู้ดูแล ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมอบรม 8 จัดกิจกรรมอบรมตามหลักสูตรโปรแกรม The Thai Triple-P จำนวน 4 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ป้องกันและลดอัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม 2 เสริมแรงและสร้างความรอบรู้และร่วมมือของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวในการแก้ไขปัญหาโภชนาการ 3 เพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้มีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ผ่านกระบวนการ กอด เล่า เล่น เต้น วาด สร้างสมาธิ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2567 10:31 น.