กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียปี 2567
รหัสโครงการ 67-L4118-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคีรีเขต
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,596.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนุวภา แก้วแก่นเพชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.153,101.116place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง มียุงลายและยุงก้นปล้องเป็นพาหะนำโรค ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชนในตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี โดยในปีพ.ศ.2566 ตลอดปี มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกตลอดปีจำนวน 65 รายแยกตามรายหมู่บ้านได้ดังนี้ หมู่ที่ 1 จำนวน 5 ราย หมู่ที่ 2 จำนวน 22 ราย หมู่ที่ 3 จำนวน 10 ราย หมู่ที่ 4 จำนวน 7 ราย หมู่ที่ 5 จำนวน 4 ราย หมู่ที่ 6 จำนวน 8 ราย หมู่ที่ 7 จำนวน 9 ราย จากประชากรในตำบลคีรีเขตทั้งหมด2,455 คน คิดเป็นอัตราการป่วย 2,647.65 ต่อประชากรแสนคน ไม่พบผู้เสียชีวิต ส่วนโรคมาลาเรียพบว่าไม่มีผู้ป่วยโรคมาลาเรียและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 14 ปี พบจำนวนป่วยถึง 31 รายรองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกและมาลาเรียในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย แต่จากสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศที่เป็นรังโรค และในช่วงหลังเดือนพฤษภาคมของทุกปี เริ่มมีฝนตกชุก ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและยุงก้นปล้องมากขึ้น อาจมีแนวโน้มจะเกิดผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ถ้าไม่ได้มีมาตรการควบคุมและป้องกันโรค     ดังนั้น การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายและยุงก้นปล้องที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน รวมทั้งได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีนคร จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก และมาลาเรีย ปี 2567

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย ในทุกกลุ่มอายุ

จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียลดลง

2 2.พื่อให้ประชาชน ตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียด้วยการ ช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่เป็นพาหะนำโรค

จำนวนร้อยละ 80 ของประชาชนในครัวเรือนมีการดูแลตนเองใน การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 1.กิจกรรมการจัดอบรมอสม. จำนวน 1 ครั้ง จำนวน 62 คน(3 มิ.ย. 2567-28 มิ.ย. 2567) 0.00            
2 2.กิจกรรมออกดำเนินงานพ่นหมอกควันควบคุมโรคจำนวน 2 ครั้ง/หมู่บ้าน(10 มิ.ย. 2567-10 ก.ย. 2567) 0.00            
รวม 0.00
1 1.กิจกรรมการจัดอบรมอสม. จำนวน 1 ครั้ง จำนวน 62 คน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 2.กิจกรรมออกดำเนินงานพ่นหมอกควันควบคุมโรคจำนวน 2 ครั้ง/หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียลดลงและสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น 2.ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย ทั้งด้านการควบคุมพาหะนำโรค ด้านสิ่งแวดล้อม เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประชาชนในชุมชนและองค์กรในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2567 10:45 น.