กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.ม.6 ห่วงใย ใส่ใจเบาหวาน ในชุมชน ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลนิคมพัฒนา
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลนิคมพัฒนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง จะเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนไทยที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ ๓.๗ เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งจะตายด้วยโรคหัวใจ ส่วนโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอดไตวายและถูกตัดอวัยวะ เป็นต้น ปัญหาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมันและหวาน สาเหตุคือ ความเคยชิน มีความจำเป็นต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเอง จึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูปมารับประทาน รวมถึงการขายการออกกำลังและไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จากสถานการณ์โรคเบาหวานในพื้นที่ หมู่ที่ ๖ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน รอบที่ ๑ พบกลุ่มเสี่ยง จำนวน ๔๗ คน หลังจากนั้นมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและติดตามหลังจากให้ความรู้ ๓ เดือน รอบที่ ๒ พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน ๓5 คน ลดลงจากครั้งแรก จำนวน ๑๐ คน
ดังนั้นเพื่อเป็นส่งเสริมและเน้นย้ำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และนำกิจกรรม "กิน อยู่ คือ " โดยการนำผักพื้นบ้าน/สมุนไพร พื้นถิ่น มาปรับใช้ในการติดตาม ดูแลกลุ่มเสี่ยง และติดตามกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๖ ตำนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จึงได้จัดทำโครงการ อสม.ม.6 ห่วงใย ใส่ใจเบาหวาน ในชุมชน ปีงบประมาณ 256๗ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อติดตามระดับน้ำตาลกลุ่มเสี่ยงป่วยเบาหวาน 2. เพื่อนำแนวทางวิธีการและนำผักพื้นบ้าน/สมุนไพร พื้นถิ่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นวางแผน (Plan) 1. ประชุมวางแผนจัดทำโครงการ และทบทวนและตรวจสอบกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงเบาหวานปี 2566 2. แบ่งกิจกรรมรับผิดชอบ 3. จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.นิคมพัฒนา ขั้นดำเนินการ (Do) 1. ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. ดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกิจกรรมดังนี้     ๒.๑ อบรมให้ความรู้เรื่องเบาหวาน ตามหลัก 3 อ 2 ส พร้อมนำกิจกรรม "กิน อยู่ คือ " โดยการนำผักพื้นบ้าน/สมุนไพร พื้นถิ่น มาปรับใช้ในการติดตาม ดูแลกลุ่มเสี่ยง - จำนวน ๑ วัน     ๒.๒ ติดตามเจาะน้ำตาลปลายนิ้วทุกเดือน เพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน - เจาะน้ำตาลปลายนิ้วกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ทุกเดือน ระยะเวลา ๗ เดือน ขั้นประเมินผล (Check) ๑. สรุปรายงานผลโครงการ ๒. รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตามอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง
  2. ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ในชุมชนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2567 10:51 น.