กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายและเฝ้าระวังการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในร้านชำ รพ.สต.บ้านผัง 50
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง 50
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 21,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง 50
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 57 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับ    ใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำ  ในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์
จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2564-256๖ ในพื้นที่ ม.4,๕ และ ๖ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านผัง 50 พบว่า มีการจำหน่ายผักที่ไม่ปลอดภัย โดยปี 2564 มีการสุ่มตรวจพบพืชผักที่มีการนำมาจำหน่ายในร้านชำ จำนวน ๑๒ ตัวอย่าง พบว่า ๑ ตัวอย่างที่มีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลง และจากการลงสุ่มตรวจร้านชำในหมู่บ้าน โดยกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคของ รพ.มะนัง ใน ปี 2565 ยังพบอีกว่า เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานส่วนใหญ่มาจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ โดยมีการจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังมีจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และในปี ๒๕๖๖ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค รพ.สต.บ้านผัง ๕๐ ลงตรวจร้านชำในพื้นที่ พบว่า มีการจำหน่ายบุหรี่และสุรา ในเวลาห้ามขายตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงจำหน่ายให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจากการลงสอบถามผู้ประกอบการร้านชำส่วนใหญ่ ได้รับข้อมูลว่าไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องการจำหน่ายสินค้าและไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น
จากความสำคัญข้างต้น รพ.สต.บ้านผัง 50 จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายและเฝ้าระวังการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในร้านชำ รพ.สต.บ้านผัง 50 ปีงบประมาณ 256๗ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในชุมชน รวมถึงเพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายในการเฝ้าระวังด้านคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำแผงลอยจำหน่ายอาหาร ในชุมชนมีความรู้ อาหาร ยาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ปลอดภัย 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน 3. เพื่อเฝ้าระวังการขาย อาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นวางแผน (Plan) 1. ประชุมวางแผนจัดทำโครงการ 2. แบ่งกิจกรรมรับผิดชอบ 3. จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.นิคมพัฒนา ขั้นดำเนินการ (Do) 1. ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. ดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกิจกรรมดังนี้ ๒.๑ อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ในชุมชน (1 วัน) ๒.๒ อบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (1 วัน) ๒.๓ ลงสำรวจ/และประเมินร้านชำ/พร้อมทั้งให้คำแนะนำและแจกแผนพับ/โปสเตอร์ความรู้ จำนวน 2 ครั้ง ขั้นประเมิน (Check) 1. รายชื่อผู้รับบริการ 2. สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการร้าชำสามารถเลือกซื้อสินค้าที่ปลอดภัยมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
  2. มีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคที่ช่วยเฝ้าะวังตรวจสอบ อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย 3.ร้านชำในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง ประเมินติดตาม ตรวสอบตามกฎหมาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2567 11:28 น.