กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้ทันมะเร็งปากมดลูก รู้จัก HPV DNA TEST กับ รพ.สต.บ้านผัง 50 ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง 50
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 24,990.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 132 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากอันดับ 4 ของสตรีทั่วโลกและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาและมีทรัพยากรน้อย มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ Human papillomaviruses (HPV) ซึ่งเป็นไวรัสที่พบได้บ่อยโดยการติดต่อทางเพศสัมพันธ์(World Health Organization, 2018) ในปี 2561 ทั่วโลกพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ 569,847 ราย และพบผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก 311,365 ราย องค์การอนามัยโลกได้กล่าวไว้ว่าถ้ากลุ่มสตรีได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 90.0 ในทุกๆ ปีจะสามารถลดอัตราตายจากมะเร็งปากมดลูกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 5 ปี ก็จะสามารถรอดชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก ได้ร้อยละ 70.0 และลดอัตราตายจากมะเร็งปากมดลูกได้ถึงร้อยละ 55.0  ข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2561 พบค่า ASR 11.1 ต่อประชากรแสนคนต่อปี เป็นอันดับ 5 รองลงมาจากมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งตับและท่อน้ำดีและมะเร็งปอด ตามลำดับ ส่วนสถิติที่มีการรายงานล่าสุด (ปี พ.ศ. 2559-2561) พบจำนวน 5,422 ราย ในขณะที่มารับการรักษาในสถาบันมะเร็ง แห่งชาติย้อนหลัง 5 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2563 พบผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 288 ราย, 283 ราย, 280 ราย, 272 ราย 439 ราย ในปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่มีการให้บริการในประเทศไทย มี 3 วิธีหลัก ได้แก่  การตรวจหา เชื้อHPV (HPV DNA testing) การตรวจเซลล์วิทยาปากมดลูก (Cervical cytology) และการตรวจปากมดลูกด้วยน้ำส้มสายชู (Visual Inspection with Acetic acid, VIA) ร่วมกับการจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น ทั้งนี้การตรวจแบบการตรวจหา เชื้อHPV (HPV DNA testing) แม้ต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงที่สุดแต่แม่นยำที่สุดเช่นกัน และสามารถเว้นช่วงการตรวจได้ถึง 5 ปี เป็นการลดความถี่การตรวจและภาระงาน พบว่าอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกจะลดลงได้ถ้ามีการดำเนินโครงการตรวจคัดกรองอย่างมีระบบ ส่งต่อที่ผลการตรวจคัดกรองผิดปกติไปรับการตรวจวินิจฉัย และได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2561) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง 50 มีสตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 421 คน เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างปี 2565-2566 จำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 22.09 ซึ่งเป็นอัตราการเข้าถึงบริการที่น้อยมาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง50 จึงจัดทำโครงการรู้ทันมะเร็งปากมดลูก รู้จัก HPV DNA TEST กับ รพ.สต.บ้านผัง 50 ปี 2567 ขึ้น มุ่งหมายให้สตรีเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์ ลดอัตราการป่วยและตายจากโรคมะเร็งปากมดลูก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างแกนนำเชิญชวนสตรีเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก 2. เพื่อเพิ่มอัตราการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก 3. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง การตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA TEST

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดประชุมคณะทำงานในโครงการฯ เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 กิจกรรมอบรมแกนนำสตรีเรื่องการค้นหาสตรีกลุ่มเสี่ยง
2.2 กิจกรรมให้ความรู้สตรีกลุ่มเสี่ยงเรื่องการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA TEST
2.3 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA TEST ในกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี 2.4 แจ้งผลและส่งรักษาต่อ 3. ขั้นประเมินผล 3.1 สรุปผลและประเมินผลดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสตรีสามารถนำความรู้ไปขยายผลและสร้างเครือข่ายต่อไป
  2. สตรีกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น
  3. สตรีที่มีผลตรวจผิดปกติ ได้รับการรักษาต่ออย่างทันท่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2567 11:31 น.