กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พ่อแม่เข้าใจ ลูกหลานปลอดภัย ปราศจากโรคในช่องปาก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานทันตกรรม รพ.สต.บือมัง
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 32,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซูไรนี กาโน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคในช่องปากเป็นปัญหาที่พบในประชากรทุกกลุ่มอายุ แม้เป็นโรคที่ไม่มีผลอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต แต่มักเป็นเหตุแรกๆที่ทำให้เกิดความรำคาญ ทั้งยังมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจโดยรวมอีกด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มต้นเรียนรู้ เด็กที่มีสุขภาพดี จะสามารถเรียนรู้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ดี และเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป ในทางตรงกันข้าม เด็กที่มีอาการปวดฟันบ่อย มักไม่มีสมาธิในการเรียน ขาดเรียนบ่อย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของด็กในอนาคตต่อไป การดำเนินงานบูรณาการงานส่งเสริมป้องกัน และเฝ้าระวังงานทันตสาธารณสุขจึงมีความสำคัญอย่างมากในการลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ แม้จะมีการสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมและทันตกรรมป้องกันอย่างเป็นรูปธรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ การตรวจสภาวะช่องปาก การเคลือบฟลูออไรด์วานิช และการบริการทันต กรรมแบบผสมผสาน (Comprehensive Care) แต่จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนอำเภอรามัน เมื่อปี 2564-2566 พบว่า ภาพรวมทั้งอำเภอ ผลงานยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ปัญหาทันตกรรมในเด็ก อายุ 2-5 ปี ในเขตอำเภอรามันปีการศึกษา 2566 พบว่ามีฟันน้ำนมผุถึงร้อยละ 54.56 และปัญหาทันตสุขภาพของตำบลบือมังพบว่าฟันน้ำนมผุถึงร้อยละ 65.24 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง ได้เล็งเห็นถึงปัญหา และความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเพื่อลดอัตราการเกิดโรค เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้นักเรียน คุณครู และผู้ปครองเด็ก ได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทางทันตสุขภาพต่อไป จากความพยายามของกระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สุขภาพช่องปากมาเป็นเวลานาน พบว่า ยังไม่ประสบผลสำเร็จ และได้ยืนยันถึงความซับช้อนของการจัดการ และความยากในการขับ เคลื่อนระบบสุขภาพช่องปากของประเทศ เพื่อพัฒนาสุขภาพช่องปากของประชาชนให้ไปในทิศทางเป้าหมายของระดับประเทศและนานาชาติ ที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อสุขภาพและมุ่งพัฒนาระบบสุขภาพช่องปากไปพร้อมกับการพัฒนาระบบสุขภาพโดยรวม ซึ่งข้อขัดข้องสำคัญที่ทำให้การเกิดยุทธศาสตร์สุขภาพช่องปากเป็นไปได้ยาก คือ ขาดกลไกขับเคลื่อนระบบสุขภาพช่องปาก ขาดการประเมินผลเชิงระบบในเรื่องมาตรการ และโครงการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากในระดับประเทศและระดับพื้นที่ ขาดกําลังคนที่มีศักยภาพในการ สร้างเสริมสุขภาพขาดความประสานร่วมมือจากภาคเอกชนและภาคท้องถิ่นและประชาสังคมให้เกิดพลังในการสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้ง ประชาชนยังขาดความตระหนักความรอบรู้และศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเอง งานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมังได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการ : พ่อแม่เข้าใจ ลูกหลานปลอดภัย ปราศจากโรคในช่องปาก ปีงบประมาณ 2567 เพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างจริงจังตามบริบทและวิถีการดำเนินชีวิตในพื้นที่ และเพื่อให้คุณครู และผู้ปกครอง มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กสามารถแปรงฟันอย่างถูกวิธี ตลอดจนปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในด้านสุขภาพช่องปาก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความสามารถในการดูแลช่องปากเด็กได้อย่างถูกต้อง

คุณครูผู้ดูแลเด็กที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้และสามารถตรวจฟันเด็กได้อย่างถูกวิธีร้อยละ 80

80.00 0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องและสามารถแปรงฟันให้กับเด็กได้อย่างถูกวิธี

ผู้ปกครองเด็กที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้และสามารถแปรงฟันให้กับเด็กได้อย่างถูกวิธีร้อยละ 70

70.00 0.00
3 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการทาฟลูออไรด์และได้รับการตรวจฟันจากเจ้าหน้าที่

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจฟัน และทาฟลูออไรด์ อย่างถูกวิธีร้อยละ 80 เด็กที่มีฟันผุสามารถหยุดการลุกลามของการเกิดโรคฟันผุได้ ร้อยละ 70

80.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,120.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ครูผู้ดูแลเด็กและครูอนุบาล 0 6,200.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในผู้ปกครอง แบ่งเป็น 2 รุ่น 0 25,920.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมตรวจฟันและทาฟลูออไรด์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คุณครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องสามารถนำมาใช้ประกอบการดำรงชีวิตประจำวันได้ 2.ผู้ปกครองเด็กมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง 3.นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีปราศจากโรคฟันผุ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2567 00:00 น.