กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ม.4 หวานใจเดิมเพิ่มเติมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง จะเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนไทยที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ ๓.๗ เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งจะตายด้วยโรคหัวใจ ส่วนโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอดไตวายและถูกตัดอวัยวะ เป็นต้น ปัญหาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมันและหวาน สาเหตุคือ ความเคยชิน มีความจำเป็นต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเอง จึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูปมารับประทาน รวมถึงการขายการออกกำลังและไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จากการดำเนินการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของหมู่ที่ ๔ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง ในปี 2566 พบว่า ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปี ได้รับการคัดกรอง ๗๕ คน  ผลการคัดกรองรอบที่ ๑ พบว่า พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน ๓๒ คน และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๙ คน หลังจากนั้น นำกลุ่มเสี่ยงฯ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (3อ๒ส) และตรวจติดตามในรอบ  ๓ เดือน ผลการคัดกรองรอบที่ ๒ พบว่า พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน ๑๑ คน และ และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๒ คน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ทำให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลง และในปี ๒๕๖๗ ชมรม อสม.หมู่ที่ ๔ ตำบลนิคมพัฒนา ได้ลงพื้นที่และติดตามกลุ่มเสี่ยงฯ ในเดือน มกราคม ๒๕๖๗ พบว่า กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เมื่อปี ๒๕๖๖ มีการออกกำลังกายน้อยลง และมีการคัดกรองซ้ำ พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง สัมฤทธิ์ผลในมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น ต่อยอดการดำเนินงานชมรมหวานใจ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๔ ตำนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จึงได้จัดทำโครงการ ม.4 หวานใจเดิมเพิ่มเติมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินควบคู่การออกกำลังกาย และตระหนักถึงการออกกำลังกาย และมีกิจกรรมออกกำลังอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินควบคู่การออกกำลังกาย 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงตระหนักถึงการออกกำลังกาย และมีกิจกรรมออกกำลังอย่างต่อเนื่อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นวางแผน (Plan) ๑. ประชุมวางแผนจัดทำโครงการ 2. แบ่งกิจกรรมรับผิดชอบ 3. จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.นิคมพัฒนา ขั้นดำเนินการ (Do) 1. ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. ดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกิจกรรมดังนี้ ๒.๑ อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคควบคู่การออกกำลังกายที่ถูกวิธี - จำนวน ๑ วัน ๒.๒ 2.กิจกรรมการออกกำลังกาย - กิจกรมออกกำลังกาย (เต้นแอโรบิก) สัปดาห์ ๓-๕ วัน อย่างต่อเนื่อง ขั้นประเมินผล (Check) ๑. รายงานสรุปผลโครงการ ๒. รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
  2. กลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
  3. คนในชุมชนมีกิจกรรมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยรายใหม่และกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2567 11:43 น.