กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันโรคฉี่หนู ในประชาชนพื้นที่ตำบลท่าพญา ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L1481-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่าพญา
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 14,030.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจรูญ นาคพล
พี่เลี้ยงโครงการ นายจรูญ นาคพล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.354,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ช่วงช่วงฤดูฝน ทำให้มีน้ำท่วมขังตามท้องไร่ท้องนา ประชาชนควรระมัดระวังโรคเลปโตสไปโรสิส หรือโรคฉี่หนูเป็นพิเศษ เนื่องจากการเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน หรือแช่น้ำเป็นเวลานาน มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคฉี่หนู  ได้ง่าย เชื้อโรคนี้จะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยถลอก และการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาการของโรคฉี่หนูเริ่มจากมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว จะปวดมากโดยเฉพาะที่น่องและ โคนขา คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาแดง เป็นต้น หากมีอาการที่กล่าวมา ขอให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว อย่าซื้อยามากินเอง เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ ที่สำคัญขอให้แจ้งประวัติการเดินลุยน้ำให้แพทย์ทราบด้วย แพทย์จะได้ทำการรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามอาการ และความรุนแรงของโรค     โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ระบุอีกว่า สถานการณ์โรคไข้ฉี่หนูตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 2 ตุลาคม 2566 พบผู้ป่วย จำนวน 2,817 ราย เสียชีวิต 32 ราย กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ อายุ 45-54 ปี (18.53%) รองลงมาคืออายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป (18.03%) และอายุ 35-44 ปี (16.19%) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรที่มีการเดินลุยน้ำย่ำโคลน     ดังนั้น เพื่อเป็นการรับมือโรคฉี่หนูที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในตำบลท่าพญา จึงต้องมีการร่วมมือกัน เพื่อไม่ให้เกิดแหล่งรังโรคสำหรับแพร่เชื้อโรคฉี่หนูในบริเวณที่มีน้ำขังละแวกบ้าน โดยเน้นให้ประชาชนทุกคน โดยเฉพาะประชนที่ประกอบอาชีพเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉี่หนู เช่น เกษตรกร ชาวสวนยางพารา ปลูกปาล์มน้ำมัน เลี้ยงวัวและสุกร เป็นต้น ให้เห็นถึงความสำคัญ สามารถป้องกันและกำจัดแหล่งรังโรคได้ด้วยตนเอง จึงได้จัดทำโครงการ “อบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันโรคฉี่หนู ในประชาชนพื้นที่ตำบลท่าพญา ปีงบประมาณ 2567”เพื่อเป็นการสร้างภูมิป้องกัน โดยการให้ความรู้ด้านการป้องกันโรคฉี่หนู โดยผู้ที่ประกอบอาชีพเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉี่หนู สามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ขณะทำงาน ทำให้ช่วยลดโอกาสติดเชื้อโรคฉี่หรือ และโอกาสเสียชีวิตจากโรคฉี่หนูได้ จึงได้จัดทำโครงการครั้งนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าพญา ในเรื่องโรคฉี่หนู(Leptospirosis) และวิธีการป้องกันตนเองจากโรคดังกล่าว

ผู้เข้าร่วมอบรม(ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าพญา) จำนวน 80 คน ทำแบบประเมินความรู้หลังอบรมผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 64 คน คิดเป็นร้อย 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ       1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สร้างทีมงานเป็นเครือข่าย ร่วมทำงานเป็นทีมเพื่อค้นหาปัญหา
      2. นำเสนอปัญหาพร้อมเขียนโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าวและอสม. ระยะดำเนินการ 1. ศึกษาพฤติกรรมคนในชุมชน/สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านที่ก่อให้เกิดแหล่งเพาะโรคฉี่หนู 2. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหา 3. จัดทำแบบเสนอโครงการเพื่อขอของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ 4. ประชาสัมพันธ์/จัดทำและขออนุมัติโครงการ 5. ดำเนินกิจกรรมอบรม เรื่องการป้องกันเรื่องโรคฉี่หนู
6. จัดทำทะเบียนข้อมูลบ้านหลังคาเรือนที่ได้ให้ความรู้เรื่องโรคฉี่หนู เพื่อติดตามสถานการณ์ป่วยเป็นโรคฉี่หนู   ระยะหลังดำเนินการ 1. ติดตามประเมินผล 2. สรุปผลการดำเนินงาน 3. ประเมินผล/สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราการป่วยจากโรคฉี่หนู(Leptospirosis)ในพื้นที่ตำบลท่าพญา 2 .ผุ้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องโรคฉี่หนู(Leptospirosis) สามารถป้องกันตนเองจากเรื่องโรคฉี่หนู(Leptospirosis) และกำจัดพาหะนำโรคได้ด้วยตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 10:22 น.