กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค ในกลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วยใหม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค ในกลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วยใหม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รหัสโครงการ 67-L1481-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าพญา
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 11,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธัญญาลักษณ์ นาคบรรพ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางธัญญาลักษณ์ นาคบรรพ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.354,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicale diseases) เช่น โรคหัวใจ-หลอดเลือด มะเร็ง ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตและคนไทยมากกว่า 14 ล้านคนกำลังเผชิญกับโรค NCDs มากกว่า 4.8 ล้านคนเป็นโรคเบาหวาน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 ล้านคนในปี 2583 โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ระบุว่า ในปี2566 ได้มีการสำรวจผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งประเทศ โดยพบประชาชนจำนวน 14 ล้านคนได้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจมีแนวโน้มที่จะเพิ่มอีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันมีการลงพื้นที่คัดกรองพบประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง และผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูงในแต่ละพื้นที่เพิ่มมากขึ้น  กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังได้ระบุอีกว่า คนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มสูงปีละ 3 แสนคน ซึ่งต่อเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน ขณะทั่วโลกพบป่วยโรคเบาหวาน 537 ล้านคน อีก 90 เปอร์เซ็นต์ป่วยเบาหวานชนิด 2 ยังไม่ได้วินิจฉัย คาดปี 2588 เพิ่มถึง 783 ล้านคน   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าพญา จึงได้จัดทำโครงการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค ในกลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วยใหม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน” ขึ้นมา เพื่อต้องการนำกลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วยใหม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ที่พบจากการค้นพบจากการคัดกรองประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในหมู่บ้าน เข้าสู่การอบรมให้ความรู้ และนำไปสู่การติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทำให้ผู้เข้ารับอบรมได้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและเหมาะสมยิ่งขึ้น ห่างไกลจากกลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วยใหม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องอันตรายจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และมีความรู้ในด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในระยะเวลา 1 เดือน

ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน ทำแบบประเมินความรู้หลังอบรมผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 48 คน คิดเป็นร้อย 80

2 ผู้ที่เข้ารับการอบรม หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นระยะเวลา 1 เดือน ได้เข้ารับการวัดค่าความดันโลหิต และค่าน้ำตาลในเลือดซ้ำ ในรายที่พบว่าผิดปกติ จะรับการส่งตัวไปพบแพทย์ที่โรงพยาลเพื่อตรวจรักษาต่อไป

ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน ได้เข้ารับการวัดค่าความดันโลหิต และค่าน้ำตาลในเลือดซ้ำหลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นระยะเวลา 1 เดือน จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อย 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมสมาชิกชมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลท่าพญา เพื่อค้นหาปัญหา
  2. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย ในเขตที่ อสม รับผิดชอบในแต่ละครัวเรือน
  3. นำเสนอปัญหาพร้อมเขียนโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าวและอสม.
  4. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ
  5. กำหนดปฏิทินการดำเนินโครงการ
  6. ดำเนินการประสานงานกับวิทยากร ระยะดำเนินการ
  7. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  8. ติดตามการตรวจวัดค่าความดันโลหิตและค่าน้ำตาลในเลือด หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเวลา 1 เดือน ระยะหลังดำเนินการ
  9. ติดตามประเมินผล
  10. สรุปผลการดำเนินงาน
  11. ประเมินผล/สรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 .กลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วยใหม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจนมีค่าความดันโลหิต และค่าน้ำตาลในเลือดที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ 2. ผู้สงสัยป่วยใหม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่ไม่สามารถลดค่าความดันโลหิต และค่าน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไป 1 เดือน ต้องได้รับการส่งตัวไปพบแพทย์ที่โรงพยาลเพื่อตรวจรักษาต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 11:07 น.