กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนท่าพญาร่วมใจสำรวจภาชนะน้ำขัง ตัดวงจรยุงลาย
รหัสโครงการ 67-L1481-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 13,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธัญญาลักษณ์ นาคบรรพ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางธัญญาลักษณ์ นาคบรรพ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.354,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 61 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี2566 มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูฝน มีภาชนะและแหล่งน้ำขังที่ยุงลายวางไข่เพิ่มขึ้น จึงขอเน้นย้ำให้ชุมชนร่วมกันปฏิบัติตามมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค หากมีอาการป่วยไข้สูงเกิน 2 วัน สงสัยไข้เลือดออก ต้องไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคให้แน่ชัด อย่าซื้อยากินเอง อาจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยพบว่าต้นปี 2566 จนถึงวันที่ 23 กันยายน 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วรวม 102,202 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 154.45 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้ว 98 ราย โดยพบว่าจำนวนผู้ป่วยปี 2566 มากกว่าปี 2565 ณ ช่วงเวลาเดียวกันถึง 3 เท่า ซึ่งเป็นวงจรของการเกิดโรคที่มักจะระบาดมากขึ้นในปีถัดจากปีที่ระบาดน้อย เนื่องจากภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติของประชากรโดยรวมลดลง หรือมีลักษณะการระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี
    ในปี2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 23 กันยายน 2566 ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอปะเหลียน ระบุไว้ว่า พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 326 ราย เป็นเพศชาย 174 ราย เพศหญิง 152 ราย โดยในตำบลท่าพญาพบผู้ป่วยจำนวน 8 ราย เพศชาย 5 ราย เพศหญิง 3 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต     ดังนั้น เพื่อเป็นการรับมือโรคไข้เลือดออกที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในตำบลท่าพญา จึงต้องมีการร่วมกันสำรวจภาชนะน้ำขัง ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ ถือเป็นภารกิจที่ผู้นำในชุมชนและองค์กรชุมชนต้องช่วยกันกระตุ้น ให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ จึงได้จัดทำโครงการ “ชุมชนท่าพญาร่วมใจสำรวจภาชนะน้ำขัง ตัดวงจรยุงลาย”เพื่อป้องกันและหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูกาลก่อนการระบาดของโรค ช่วงที่มีการระบาด และหลังการระบาดของโรคไข้เลือดออก เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์สำรวจภาชนะน้ำขัง กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน วัด และชุมชน ลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย และเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนเกิดการดำเนินกิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

ชุมชนดำเนินการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านของตนเองร่วมกับอสม. ไม่น้อยกว่าร้อยละ90 ของจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด

2 เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงลายพาหะนำโรคในบ้านชุมชนโรงเรียน และวัด

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนและวัดที่สำรวจ มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย CI = 0

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ       1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สร้างทีมงานเป็นเครือข่าย ร่วมทำงานเป็นทีมเพื่อค้นหาปัญหา       2. นำเสนอปัญหาพร้อมเขียนโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าวและอสม. ระยะดำเนินการ 1. ศึกษาพฤติกรรมคนในชุมชน/สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านที่ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 2. ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน/อสม./ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหา     3. จัดทำแบบเสนอโครงการเพื่อขอของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ     4. ประชาสัมพันธ์/จัดทำและขออนุมัติโครงการ     5. ดำเนินกิจกรรมณรงค์สำรวจภาชนะน้ำขัง และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน,โรงเรียน
และวัด ร่วมกับผู้นำชุมชน ,แกนนำในหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)     6. จัดทำทะเบียนข้อมูลบ้านหลังคาเรือนที่ได้ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
ระยะหลังดำเนินการ 1. ติดตามประเมินผล 2. สรุปผลการดำเนินงาน 3. ประเมินผล/สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 .ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก     2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
    3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
    4.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
    5.ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2567 10:58 น.