กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรู้ อสม. ด้านทันสุขภาพ สู่การคัดกรองเชิงรุก ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L1481-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าพญา
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 24,140.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธัญญาลักษณ์ นาคบรรพ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางธัญญาลักษณ์ นาคบรรพ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.354,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปาก เป็นปัญหาสำคัญในทุกกลุ่มวัย แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆ อาทิ กลุ่มเด็กปฐมวัย เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน และในวัยผู้สูงอายุ แต่ก็ยังเห็นได้ชัดว่า ปัญหาเรื่องทันตสุขภาพยังเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพของประชาชนในทุกกลุ่มอายุ หากประชาชนมีโรคทางด้านทันตสุขภาพ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ก็จะส่งผลให้สูญเสียฟันและเกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในองค์รวม ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมามีความครอบคลุมในเฉพาะระถมศึกษาเท่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดของจำนวนทันตบุคลากรทำให้ไม่สามารถติดตามดูแลสุขภาพช่องปากในระดับครัวเรือนได้อย่างครอบคลุม ทั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยผู้นำสุขภาพในหมู่บ้านคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดและทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชน การดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผ่านมานั้น ไม่มีรูปแบบการดำเนินงานในการเป็นผู้นำด้านทันตสุขภาพที่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถขยายการดำเนินงานทันตสุขภาพสู่ระดับครัวเรือนและระดับหมู่บ้านได้ ในการนี้เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนในชุมชน โดยอาศัยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมาเป็นแกนนำในการส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชน จะต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาศักยภาพด้านทันตสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้มีทักษะและความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพช่องปากระดับครัวเรือน การเฝ้าระวังการเกิดโรคในช่องปาก และเผยแพร่ความรู้ด้านทันตสุขภาพต่อชุมชนได้
    ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าพญา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาด้านทันตสุขภาพของประชาชน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความรู้ อสม.ด้านทันตสุขภาพ สู่การคัดกรองเชิงรุก ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านทันตสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ในการดูแลสุขภาพช่องปากในระดับครัวเรือนได้อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะการลงพื้นที่เชิงรุกตรวจสุขภาพฟันและคัดกรองมะเร็งช่องปากในประชาชนอายุ40 ขึ้นไปโดยอสม. หลังจากผ่านอบรมแล้ว อันจะส่งผลให้ประชานในพื้นที่ตำบลท่าพญาได้รับบริการที่รวดเร็วและครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยในรายที่ตรวจพบความผิดปกติ สามารถที่จะประสานงานเพื่อเข้ารับการตรวจฟันอย่างละเอียดยิ่งขึ้นจากทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าพญา และจากทางโรงพยาบาลปะเหลียนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก และเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีของแกนนำ อสม.

ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 57 คน ทำแบบประเมินความรู้หลังอบรมผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 46 คน คิดเป็นร้อยละ 80

2 เพื่อสร้างเครือข่าย และเกิดการพัฒนาองค์ความรู้การส่งเสริมทันตสุขภาพทุกกลุ่มวัยของ อสม.

มีการสร้างเครือข่ายส่งเสริมทันตสุขภาพโดยการจัดตั้ง อสม.ด้านทันตสุขภาพ ในทุกหมู่บ้าน รวมทั้งหมด 4 หมู่บ้าน

3 ประชาชนอายุ40 ขึ้นไป ในพื้นที่ตำบลท่าพญา ได้รับการคัดกรองมะเร็งช่องปากโดย อสม.

ประชาชนอายุ40 ขึ้นไป ในพื้นที่ตำบลท่าพญา จำนวน 1,230  คน ได้รับคัดกรองมะเร็งช่องปาก จำนวน 984 คน คิดเป็นร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ติดต่อประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินงานตามโครงการ
  2. จัดซื้อ/เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในการดำเนินงานตามโครงการ
  3. อบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพ   - ทำแบบทอสอบความรู้ก่อนการเข้าร่วมอบรม   - ให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพ
      - ทำแบบทอสอบความรู้หลังการเข้าร่วมอบรม
  4. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรม(อสม.) มีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
  2. ผู้เข้ารับการอบรม(อสม.) สามารถสร้างเครือข่าย และเกิดการพัฒนาองค์ความรู้การส่งเสริมทันตสุขภาพทุกกลุ่มวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2567 11:11 น.