กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์ให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลปะเสยะวอ ประจำปีงบประมาณ 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์ให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลปะเสยะวอ ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3057-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลปะเสยะวอ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2567
งบประมาณ 77,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมารานี ดาโอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.733,101.606place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มี.ค. 2567 31 มี.ค. 2567 77,500.00
รวมงบประมาณ 77,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 38 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 48 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 7 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเขตพื้นที่ตำบลปะเสยะวอ มีประชากรผู้สูงอายุจำนวน 1,049 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.9 ของประชากรตำบลปะเสยะวอ จากสถานการณ์ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงภาวะพึ่งพิงสูงมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุมักมีปัญหาด้านสุขภาพตามมาได้แก่ ปัญหาการได้ยินและการมองเห็น การสื่อสาร การเคลื่อนไหวร่างกายและอุบัติเหตุ ปัญหาในการเคี้ยวอาหารและการขับถ่าย ปัญหาสภาพจิตใจ โรคสมองเสื่อม เป็นต้น ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงมีจำนวน 48 คน จัดอยู่กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้างมีปัญหาการกิน/การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสนมีจำนวน 40 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่เคลื่อนไหวได้บ้างมีภาวะสับสน และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่าย มีจำนวน 1 คน กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่เคลื่อนไหวเองไม่ได้ ไม่มีปัญหาการกิน/การขับถ่ายหรือเจ็บป่วยรุนแรงมีจำนวน 6 คน กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่เคลื่อนไหวเองไม่ได้ เจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิตมีจำนวน 1 คน ในปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลปะเสยะวอมีอุปกรณ์ที่ช่วยเหลือ ดังนี้ คือ
๑. เตียงผู้ป่วย 2 เตียง ยืม ๒ เหลือ ๐ ๒. เบาะลม 2 อัน ยืม ๑ เสีย ๑ เหลือ  0 ๓. รถเข็น 7 คัน ยืม ๗ ซ่อม ๔ เหลือ  4 ๔. อุปกรณ์ช่วยเดิน 7 อัน ยืม ๗ เหลือ  0
๕. เก้าอี้นั่งถ่าย 2 อัน ยืม ๑ เหลือ  1
๖. ไม้ค้ำยัน 7 อัน ยืม ๒ เหลือ  5
ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เช่น กลุ่ม ๑ ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เพื่อหัดเดินช่วยพยุงและการทรงตัว กลุ่มที่ 3 ต้องใช้เตียงผู้ป่วยเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เบาะลมเพื่อป้องกันแผลกดทับ กลุ่ม๔ ต้องใช้ถังออกซิเจนเพื่อเพิ่มออกซิเจนในปอด ทำให้หายใจสะดวกขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ในการรักษาประคับประคอง       ในการนี้ กองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนตำบลปะเสยะวอเห็นความสำคัญของปัญหาผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ที่มีปัญหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่เพียงพอ ลดปัญหาแทรกซ้อนเช่นแผลกดทับ ลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวในการซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับความช่วยเหลือต่างๆ จึงจัดทำโครงการฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลปะเสยะวอ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง ที่ขาดแคลนอุปกรณ์การแพทย์ได้ใช้อุปกรณ์ฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน
  1. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง หรือผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับอุปกรณ์ฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน
100.00
2 2. เพื่อลดปัญหาแทรกซ้อน เช่นแผลกดทับในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  1. ร้อยละ 80 สามารถลดปัญหาอาการแทรกซ้อนแก่ผู้ที่ได้รับอุปกรณ์ฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง   รายละเอียด - จัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนให้แก่ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ - มอบหมายให้คณะทำงานจัดทำระบบยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน        ติดเตียง และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่ต้องการยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์ - ขึ้นทะเบียนผู้ยืมใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์
- ส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ กิจกรรมที่ 2 ติดตามการใช้งานอุปกรณ์การแพทย์อย่างต่อเนื่อง   - ตรวจสอบสภาพการใช้งานก่อนนำไปใช้ และหลังจากคืนวัสดุทุกครั้ง หากพบว่าชำรุดก็นำไปซ่อมเพื่อสามารถใช้งานได้ตามปกติ   - ให้อาสาสมัครบริบาลช่วยติดตามสถานะการใช้งานของอุปกรณ์การแพทย์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง หรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีรายได้น้อยได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ฟื้นฟูสุขภาพที่บ้านร้อยละ 80   2. ลดภาวะแทรกซ้อนจากแผลกดทับ ในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงหรือ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2567 12:06 น.