กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนบาโงยซิแนใส่ใจฟันดี ปี 2567
รหัสโครงการ L4147-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลีมาปูโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 46,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอโนชา เหละดุหวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียนชั้น ป.1-6ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก
90.00
2 นักเรียนชั้น ป.4-6 ได้รับการเคลือบฟลูออไรด์เจล
80.00
3 นักเรียนชั้น ป.4-6 ได้รับการอบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพและฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธี
80.00
4 เพื่อให้นักเรียนชั้น ป.1-6 ที่มีปัญหาทันตสุขภาพได้รับบริการทันตกรรม
20.00
5 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงหลังคลอด ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆทีพบในกลุ่มวัยเดียวกันและปัญหาทันตสุขภาพนั้นนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากเด็กแล้วยังมีผลต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กด้วย นักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องฟันลึก ทำให้เด็กมีฟันผุได้ง่าย นอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานหวาน ตลอดจนจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลช่องปากด้วยตนเอง ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุและโรคในช่องปากได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากได้รับ การเริ่มต้น ส่งเสริมตั่งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดีและส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรก ของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันฟันผุและควบคุมโรคในช่องปากของตนเองได้ จากการตรวจสภาวะช่องปากของนักเรียนชั้น ป 1-6 พบว่าเด็กนักเรียนทั้งหมด 735 คน มีฟันแท้ผุ 302คน คิดเป็นร้อยละ 41.08 มีเหงือกอักเสบ 80 คน คิดเป็นร้อยละ 10.88 นักเรียนชั้น ป.1 -3 อัตราการเกิดฟันผุ น้อยกว่าช่วงชั้น ป.4 -6 เนื่องจากช่วงชั้นป1.-3 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านลีมาปูโร๊ะ ได้ทำการเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามแท้ซี่แรกให้กับเด็กนักเรียนทุกรายที่มีฟันแท้ขึ้นตั่งแต่ ป.1และในช่วงชั้น ป4. เป็นช่วงที่มีการพลัดเปลี่ยนฟันแท้ ทำให้การดูแลในช่วงดังกล่าวลดน้อยลง จึงจำเป็นต้องเน้นการส่งเสริม ป้องกัน การเกิดฟันผุ โดยเน้นการแปรงฟันที่ถูกวิธี และให้เด็กเข้าถึงฟลูออไรด์เพื่อลดโรคฟันผุ การดำเนินโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพ ในโรงเรียนประถมศึกษาในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านลีมาปูโร๊ะ ได้ดำเนินการเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการด้านการส่งเสริม ป้องกัน และ รักษา สุขภาพช่องปากของนักเรียน และมีการปรับกิจกรรมดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น การดำเนินการจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือ จากครู นักเรียน และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ให้มีการแปรงฟันที่ถูกวิธีและสมำ่เสมอทั้งที่บ้านและทีโรงเรียน ควบคู่ไปกับให้บริการรักษาทันตกรรมตามความเหมาะสม นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านลีมาปูโร๊ะ ได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริม ป้องกัน รักษา ในทุกกลุ่มวัยแล้วนั้น กลุ่มที่พบปัญหาทันตสุขภาพลำดับรองจากนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา คือกลุ่มหญิงตั้งครรถ์ โดยได้ทำการตรวจฟันหญิงตั้งครรภ์ทุกวันอังคาร และวันพุธ ในคลีนิกฝากครรภ์ พบว่า หญิงตั้งครรภ์ทุกคนมีเหงือกอักเสบและมีหินน้ำลาย บางรายพบฟันผุจำนวนหลายซี่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโฮโมนในร่างกาย บางรายมีอาการแพ้ท้อง บางรายอาเจียน ทำให้การรักษาทันตกรรมค่อนข้างยากนอกจากนี้การให้บริการรักษาทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์มีข้อจำกัด คือ สามารถให้บริการทันตกรรมได้ตอนอายุครรภ์ 4 - 6 เดือน เท่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเน้นการแปรงฟันที่ถูกวิธีควบคู่กับการรักษาทันตกรรม เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพช่องปากที่ดีตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนชั้น ป.1-6ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 100

นักเรียนทุกคนได้รับการตรวจฟัน และแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ร้อยละ 100

100.00 100.00
2 นักเรียนชั้น ป.4-6 ได้รับการเคลือบฟลูออไรด์เจลร้อยละ 80

นักเรียนชั้น ป.4-6 ได้รับการเคลือบฟลูออไรด์เจล เพื่อลดฟันผุ

80.00 80.00
3 นักเรียนชั้น ป.4-6 ได้รับการอบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพและฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ร้อยละ 80

นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก การแปรงฟันที่ถูกวิธี และสามารถตรวจฟันได้ด้วยตนเอง

80.00 80.00
4 เพื่อให้นักเรียนชั้น ป.1-6 ที่มีปัญหาทันตสุขภาพได้รับบริการทันตกรรม ร้อยละ 20

นักเรียนชั้น ป.1-6 ที่พบปัญหาโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ ได้รับการรักษาทางทันตกรรม

20.00 20.00
5 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงหลังคลอด ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี

หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงหลังคลอดที่เข้ารับบริการทันตกรรม ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธี จำนวน 30 คน

30.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 46,150.00 0 0.00
3 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพและฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธีและเคลือบฟลูออไรด์เจล ในนักเรียนชั้น ป4-6 0 43,750.00 -
3 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงหลังคลอด ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันโดยทันตบุคลากร สาธิตการแปรงฟันแบบตัวต่อตัว 0 2,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กประถมศึกษาลดลง
หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงหลังคลอด สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและลูกได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2567 00:00 น.